|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรคต่อมไทรอยด์
|
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมชนิดหนึ่งอยู่ตรงบริเวณลำคอใต้ลูกกระเดือก มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ คอยทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญ ควบคุมการสันดาปในร่างกาย ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และอื่น ๆ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย การที่ต่อมไทรอยด์เกิดอาการอักเสบ หรือเกิดปัญหาย่อมไม่ส่งผลดีต่อร่างกายอย่างแน่นอน |
|
|
อาการไทรอยด์เป็นพิษ / อาการคอพอกเป็นพิษ (Thyrotoxicosis/Toxic goiter)
เป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติทำให้เกิดการผลิตฮอร์โมน Tetraiodothyronine หรือเรียกสั้น ๆ ว่า T4 และ Triiodothyronine หรือเรียกสั้น ๆ ว่า T3 มากผิดปกติ ทำให้ร่างกายเกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น
- อาการบวมที่คอ (คอพอก)
- อ่อนแรง
- อ่อนเพลีย
- แขนขาอ่อนแรง
- หัวใจเต้นเร็ว แรงกว่าปกติบ่อยครั้ง
|
|
|
สาเหตุภาวะพิษจากไทรอยด์ที่พบได้บ่อย
1.โรคเกรฟส์ (Graves’ disease) พบในคนอายุ 20-40 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้จัดเป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่ง มักมีต่อมไทรอยด์โตแบบกระจายและมีอาการตาโปนร่วมด้วย การสร้างสารภูมิต้านทานต่อไทรอยด์จะมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญคือ thyroidstimulating immunoglobulin(TSI) ซึ่งจะไปจับกับตัวรับฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์(TSH) ที่ต่อมไทรอยด์และกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนออกมาซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมองจนทำให้มีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป จึงเกิดภาวะพิษจากไทรอยด์
พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิต้านตนเองอื่นๆ ได้ในผู้ที่เป็นโรคเกรฟส์ เช่น ไมแอสทีเนียเกรวิส เบาหวานชนิดที่ 1 โรคแอดดิสัน ผมร่วงเป็นหย่อม ภาวะอัมพาตครั้งคราวจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ เป็นต้น
2.คอพอกเป็นพิษชนิดหลายปุ่ม (toxic multinodular goiter) เรียกว่า โรคพลัมเมอร์(Plummer’s disease) มีอาการคอพอกลักษณะโตเป็นปุ่มหลายปุ่ม การหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์อยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง มักพบได้ในคนอายุมากกว่า 40 ปี
3.เนื้องอกไทรอยด์ชนิดเป็นพิษ (toxic thyroid adenoma) ต่อมไทรอยด์มีลักษณะโตเป็นก้อนเนื้องอกเดี่ยว ขนาด 2.5 ซม.ขึ้นไป การหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์อยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง ซึ่งภาวะนี้มักพบได้น้อยกว่า 2 ชนิดข้างต้น
4.ต่อมไทรอยด์อักเสบ เนื้อเยื่อที่อักเสบจะปล่อยฮอร์โมนไทรอยด์ที่สะสมอยู่ในต่อมไทรอยด์ออกมาในกระแสเลือดมากกว่าปกติในระยะแรก ทำให้เกิดไทรอยด์เป็นพิษ มักจะมีอาการอยู่ชั่วระยะหนึ่ง และอาจมีภาวะขาดไทรอยด์อย่างถาวรตามมาในระยะหลัง
|
|
|
อาการของโรค
อาการที่พบได้ในผู้ป่วย เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น ใจหวิว ใจสั่น หรือเจ็บหน้าอก ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน เหงื่อออกง่าย มีเหงื่อชุ่มฝ่ามืออยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยจะกินอาหารได้ตามปกติหรือกินมากกว่าเดิมแต่น้ำหนักตัวจะลดลงรวดเร็วจากการที่ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก
ผู้ป่วยอาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย นอนไม่หลับ อารมณ์ซึมเศร้า ขี้ตกใจ ไม่ชอบอยู่เฉย อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวบ่อยคล้ายท้องเดิน หรืออาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาไม่มีแรง กลืนลำบาก หรือจากภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำทำให้เกิดอาการอัมพาตครั้งคราวได้ อาจมีประจำเดือนน้อย ไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนขาดในผู้หญิงบางราย
|
|
|
ภาวะขาดไทรอยด์/ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism)
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ออกมาไม่เพียงพอ โดยต่อมไทรอยด์ซึ่งอยู่ด้านหน้าส่วนล่างของคอ ทำหน้าที่ผลิตและส่งฮอร์โมนไทรอยด์เข้าไปในกระแสเลือด ทั้งนี้ ฮอร์โมนดังกล่าวยังส่งผลต่ออวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวใจไปยังสมอง และจากกล้ามเนื้อไปที่ผิวหนัง ฮอร์โมนไทรอยด์นั้นจะควบคุมกระบวนการใช้พลังงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายหรือที่เรียกว่ากระบวนการเมตาบอลิซึม โดยกระบวนการเมตาบอลิซึมส่งผลต่ออุณหภูมิ อัตราการเต้นหัวใจ และการเผาผลาญพลังงาน หากร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้กระบวนการทำงานของร่างกายช้าลง กล่าวคือ ไม่มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งกระบวนการเมตาบอลิซึมทำงานช้าลง
ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 60 ปี มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะขาดไทรอยด์มาก โดยภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อระดับความสมดุลของปฏิกิริยาเคมีภายในร่างกาย อาจปรากฏอาการบ้างในช่วงแรก แต่หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เช่น ภาวะอ้วน อาการปวดข้อ มีบุตรยาก และปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ |
|
|
สาเหตุของอาการทางไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างมาก รวมทั้งกระทบต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม หากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาไม่เพียงพอ สามารถก่อให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ โดยอาจเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้
1.โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Disease) โรคนี้คือการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผลิตแอนติบอดี้ขึ้นมาทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายตัวเอง ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต (Hashimoto's Thyroiditis) เมื่อต่อมไทรอยด์อักเสบและผลิตแอนติบอดีขึ้นมาทำลายเนื้อเยื่อของตัวเอง ย่อมส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาได้ไม่เพียงพอจนนำไปสู่ภาวะขาดไทรอยด์ ยังไม่ปรากฏหลักฐานชี้ชัดว่าเหตุใดร่างกายจึงผลิตสารภูมิคุ้มกันขึ้นมาทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายตัวเอง โดยสันนิษฐานว่าอาจมาจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือความผิดปกติของยีน อย่างไรก็ตาม โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน
2.การรักษาต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) ต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) คือภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป โดยผู้ป่วยโรคนี้อาจจะได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี (Radioactive Lodine) หรือยาต้านไทรอยด์เพื่อลดและปรับระดับฮอร์โมนดังกล่าวให้เป็นปกติ อย่างไรก็ดี รังสีที่ใช้รักษานั้นจะทำลายเซลล์ในต่อมไทรอยด์ จนนำไปสู่ภาวะขาดไทรอยด์ได้
3.การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดนำส่วนต่าง ๆ เกือบทุกส่วนของต่อมไทรอยด์ออกไปนั้น จะทำให้ร่างกายลดหรือหยุดการผลิตฮอร์โมน หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ไปตลอดชีวิต
4.การรักษาด้วยรังสี ผู้ป่วยมะเร็งบางชนิดต้องได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่คอหรือหัว โดยรังสีจะทำลายเซลล์ภายในต่อมไทรอยด์ ทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนออกมาได้เพียงพอ
5.ยารักษาโรคบางตัว ยาบางตัวที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ ภาวะทางจิต หรือโรคมะเร็งนั้น บางครั้งก็ส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ โดยยาเหล่านี้ ได้แก่ ยาอะมิโอดาโรน (Amiodarone) ยาลิเทียม (Lithium) อินเตอร์เฟอรอน (Interferon Alpha) ยาอินเตอร์ลูคีน 2 (Interleukin-2)
6.การขาดธาตุไอโอดีน ธาตุไอโอดีนถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ การขาดสารไอโอดีนจึงมีผลให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติได้
7.การเป็นโรคแต่กำเนิด (Congenital Disease) ทารกบางคนไม่มีต่อมไทรอยด์หรือต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่องมาตั้งแต่เกิด เรียกว่าโรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism)
8.ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) การทำงานของต่อมใต้สมองที่ผิดปกติสามารถส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ได้
9.การตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์บางรายอาจประสบภาวะขาดไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังตั้งครรภ์ไปแล้ว เรียกภาวะที่เกิดขึ้นว่าไทรอยด์ต่ำหลังคลอด (Postpartum Hypothyroidism)
|
|
|
โรคของต่อมไทรอยด์ในทางการแพทย์แผนจีน
เกิดจากการที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง การเผาผลาญสารอาหารแย่ลง ทำให้เกิดการตกค้างกลายเป็นเสมหะ เมื่อเสมหะและลมปราณอุดกั้นทำให้เกิดเป็นก้อนบริเวณคอด้านหน้า เมื่อสะสมเป็นเวลานานจะก่อเกิดเป็นไฟ เสมหะและไฟจะไปกระทบหัวใจโดยจะมีอาการกระวนกระวาย ใจสั่น นอนไม่หลับ ฝันเยอะ เมื่อไฟแกร่งจะไปขับไล่สารน้ำในร่างกาย ทำให้ตัวร้อน เหงื่อออก เมื่อนานเข้าจะไปกระทบหยางของม้ามและไต เกิดอาการกลัวหนาว มือเท้าเย็น ความต้องการทางเพศลดลง
|
|
|
การแยกประเภทอาการทางแพทย์แผนจีน
1.ลมปราณติดขัดเสมหะอุดกั้น ก้อนจะนิ่มไม่ปวด แน่นหน้าอก ถอนหายใจบ่อย อารมณ์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโรค
2.เลือดติดขัดเสมหะอุดกั้น มักมาจากการถูกกระทบภายนอก บริเวณคอมีจุดกดเจ็บ ก้อนค่อนข้างแข็ง
3.ไฟในตับแกร่ง มีอาการขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย ขี้โมโห ตาโปน นิ้วมือสั่น หน้าแดง ปากบวม
4.หยินในตับและหัวใจพร่อง มีอาการใจสั่น กระวนกระวาย คอแห้งตาลาย นิ้วมือสั่น |
|
|
การรักษาทางแพทย์แผนจีน
สยามแพทย์ทางเลือกคลินิกทำการรักษาอาการไทรอยด์ด้วยวิธีการดังนี้
1.ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละอาการ เช่น
อาการไทรอยด์ตามกลุ่มอาการลมปราณติดขัดเสมหะอุดกั้น ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ เพิ่มการหมุนเวียน ของชี่และลมปราณ ขับเสมหะ
อาการไทรอยด์ตามกลุ่มอาการเลือดติดขัดเสมหะอุดกั้น ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ เพิ่มการหมุนเวียน ของเลือด ขับเสมหะ
2.ฝังเข็มตามกลุ่มอาการ ทำการฝังเข็มปรับสมดุลร่างกายตามแต่ละกลุ่มอาการ เช่น
อาการไทรอยด์ตามกลุ่มอาการไฟในตับแกร่ง ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ ขับพิษไฟในตับ บำรุงตับ
อาการไทรอยด์ตามกลุ่มอาการหยินในตับ และหัวใจพร่อง ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ บำรุงหยินตับ บำรุงหยินหัวใจ บำรุงตับ บำรุงหัวใจ
|
|
|
สารอาหารบำรุงต่อมไทรอยด์
1.สารไอโอดีน สารไอโอดีนเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ การขาดสารไอโอดีนจึงทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ไอโอดีนจะช่วยทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานอย่างเหมาะสม จึงเหมาะเป็นพิเศษกับไฮโปไทรอยด์ หรือไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ สารไอโอดีนจะมีมากใน เกลือทะเล สาหร่าย อาหารทะเล และอื่น ๆ
2.วิตามินบี วิตามินบีจัดเป็นวิตามินตัวหลักที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งวิตามินบีมีสรรพคุณบำรุงระบบประสาท แก้อาการเหน็บชา ในส่วนของต่อมไทรอยด์ วิตามินบีมีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ พบมากในอาหารประเภทธัญพืชต่าง ๆ เช่น ถั่ว งา เมล็ดแอลมอนด์
3.สังกะสี เป็นสารอาหารที่ใช้ในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ การขาดสังกะสีเป็นผลให้การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ผลิตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การทานอาหารที่มีสังกะสีเป็นประจำจะช่วยให้การผลิตฮอร์โทนไทรอย์เป็นปกติ อาหารที่มีสังกะสี ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง
|
|
|
|