|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อาการไหล่ติด ปวดหัวไหล่
(Frozen Shoulder)

|
ข้อไหล่ เป็นข้อต่ออยู่บริเวณหัวไหล่ช่วยในการเคลื่อนไหวจัดเป็นข้อต่อส่วนสำคัญที่ทำให้แขนสามารถขยับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อไหล่จัดเป็นกระดูกที่สามารถหมุนได้มากที่สุดทำให้สามารถยกแขนเอื้อมขึ้นบนได้ หรือแม้แต่การเอื้อมมือไปแตะข้างหลังบริเวณสะบักได้
ข้อไหล่ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกต้นแขน กระดูกไหปลาร้า และกระดูกสะบัก กระดูกทั้งสามนี้จะทำหน้าที่สอดประสานกันเพื่อให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยความที่กระดูกข้อไหล่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระจึงมักจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวที่ผิดจังหวะ หรือเคลื่อนไหวมากเกินไปจนเกินขอบเขตการเคลื่อนไหวของข้อไหล่
|
|
|
ลักษณะอาการไหล่ติด
อาการไหล่ติด หรืออาการข้อไหล่ติด หรืออาการไหล่อักเสบ เป็นอาการที่ข้อไหล่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่คล่องตัว หรือไม่สามารถเอื้อมมือ หรือยกมือได้สุด เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ยืดหยุ่น เกิดการแข็งตึงของกล้ามเนื้อ เกิดจากการยึดตัวของพังผืด หรือสาเหตุอื่น ๆ โดยมากจะเกิดในผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้พบว่าผู้ที่เป็นเบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ มีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เกิดอาการบาดเจ็บจนไม่สามารถเคลื่อนไหวไหล่ในระยะเวลาหนึ่งได้ก็มักจะมีปัญหาอาการไหล่ติดเช่นเดียวกัน
|
|
|
สาเหตุของอาการไหล่ติด
1.เกิดจากอาการบาดเจ็บต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อไหล่ หรือสะบักอักเสบ กล้ามเนื้อฉีกขาด เอ็นฉีกขาด กระดูกหัก หรือกระดูกเคลื่อน ซึ่งอาการดังกล่าวมีผลให้เกิดการไหลเวียนของเลือดลมติดขัดในระยะยาวอาจทำให้เกิดพังผืด หรือการหดเกร็งของกล้ามเนื้อจนเป็นผลให้เกิดอาการไหล่ติด
2.เกิดจากการเคลื่อนไหวแขนไม่เหมาะสม เช่น เคลื่อนไหวแขนเร็วเกินไป เคลื่อนไหวผิดท่า หรือในนักกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว รุนแรง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นผลให้เกิดอาการบาดเจ็บจนทำให้เกิดอาการไหล่ติดในอนาคตได้
3.เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย เช่น อายุที่มากขึ้น ร่างกายอ่อนแอ สารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติจนทำให้เกิดอาการไหล่ติดได้
4.เกิดจากโรคทางข้อ และกล้ามเนื้อ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาท์ อาการปวดหลังปวดเอว และโรคอื่น ๆ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่มีผลต่อระบบกล้ามเนื้อในร่างกายทำให้กล้ามเนื้อ และข้อกระดูกต่าง ๆ ติดขัดผิดปกติ เมื่อเกิดความผิดปกตินานเข้าอาจเป็นเหตุทำให้เกิดไหล่ติดได้
|
|
|
อาการไหล่ติดในทรรศนะแพทย์แผนจีน
ในทางการแพทย์แผนจีนมองว่าอาการไหล่ติดเกิดจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1.เกิดจากเจิ้งชี่ไม่พอ ในทางแพทย์แผนจีนมองว่าเจิ้งชี่คือภูมิคุ้มกัน หรือเกราะป้องกันอาการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บจากกรณีต่าง ๆ ดังนั้นการที่ร่างกายมีเจิ้งชี่ไม่พอจึงทำให้ร่างกายไม่สามารถทนต่ออาการบาดเจ็บได้ อาการไหล่เจ็บ หรือไหล่ติดก็เช่นกันหากร่างกายมีเจิ้งชี่ไม่พอ และร่างกายมีแนวโน้มบาดเจ็บบริเวณไหล่จึงมีโอกาสทำให้เกิดอาการไหล่ติดได้
2.เกิดจากไหล่ถูกลมเย็น เมื่อไหล่ถูกลมเย็นกระทบมากเข้าร่างกายจะเกิดเสียชี่ช่วงบริเวณไหล่ทำให้ชี่ หรือเลือดลมไหลเวียนติดขัดทำให้เกิดการอุดตันของพลัง และเลือดลม เป็นผลให้บริเวณช่วงไหล่เกิดการติดขัดเมื่อนานเข้าทำให้เกิดอาการไหล่ติดได้
3.เกิดจากการกดทับที่บริเวณไหล่เป็นเวลานาน ซึ่งผลจากการกดทับเป็นผลให้เกิดการติดขัดของชี่ และเลือดลมบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกกดทับในเบื้องต้นจะเกิดอาการเมื่อย เมื่อถูกกดทับนานเข้าบ่อยเข้าการติดขัดก็จะเริ่มรุนแรงมากขึ้นจนเกิดอาการไหล่ติด หรือเกิดอาการชา
4.เกิดจากน้ำไขข้อไม่พอ โดยปกติข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกายจะมีไขข้อในการเชื่อมประสาน และช่วยในการเคลื่อนไหวได้สะดวกและไม่เกิดการติดขัดของข้อต่อ การที่น้ำไขข้อไม่พอจึงทำให้เกิดการติดขัดของข้อจึงเป็นผลทำให้เกิดอาการติดขัดของข้อได้
5.เกิดจากมีพังผืดยึดเกาะ พังผืดเกิดจากการที่ร่างกายเกิดความเสียสมดุลจึงทำให้ ซึ่งพังผืดหากเกาะตามจุดใดของร่างกายจะทำให้จุดนั้น ๆ เกิดการติดขัด ดังนั้นหากพังผืดมาเกาะบริเวณข้อไหล่จึงสามารถเกิดอาการไหล่ติดได้
|
|
|
การบำบัดรักษาทางแพทย์แผนจีน
1.ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละอาการ เช่น
- อาการไหล่ติดตามกลุ่มอาการเจิ้งชี่ไม่พอ ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ บำรุงเจิ้งชี่ เพิ่มการหมุนเวียน แก้ปวด
- อาการไหล่ติดตามกลุ่มอาการไหล่ถูกกระทบจากลมเย็น ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ ขับลมเย็น เพิ่มการหมุนเวียน แก้ปวด
2.ฝังเข็มตามกลุ่มอาการ ทำการฝังเข็มปรับสมดุลร่างกายตามแต่ละกลุ่มอาการ เช่น
- อาการไหล่ติดตามกลุ่มอาการน้ำไขข้อไม่พอ ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ เพิ่มการหมุนเวียนของน้ำไขข้อ บริเวณไหล่ แก้ปวด
- อาการไหล่ติดตามกลุ่มอาการพังผืดยึดเกาะ ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณสลายพังผืด แก้ปวด เพิ่มการหมุนเวียน
|
|
|
การบริหาร ข้อไหล่
ก่อนการบริหารควรประคบไหล่ด้วยความร้อนเช่นใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนประคบนาน ประมาณ 15 นาทีแล้วค่อยเริ่มบริหารด้วยท่าต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.แกว่งแขน โดยเอาแขนดีเท้าบนโต๊ะ ก้มตัวลงให้แขนข้างเจ็บห้อยลง ค่อยๆ แกว่งแขนไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างใน ออกข้างนอก แกว่งเป็นวงกลมตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา ทำครั้งละ 5 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
2.ใช้นิ้วไต่ฝาผนัง ท่ายืนตรง แขนเหยียด เอานิ้วแตะข้างฝา ไต่ฝาผนังขึ้น – ลง ทั้งในท่ายืนหันหน้าเข้าฝาและยืนหันข้างเข้าฝา ค่อยๆ เพิ่มความสูงของนิ้วมือขึ้นเรื่อยๆ ทำครั้งละ 5 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
3.ท่าดึงแขนด้านหลังโดยใช้ผ้าขนหนู ท่ายืนตรงใช้ผ้าเช็ดตัวพาดบ่า มือจับปลายผ้าทั้ง 2 ข้าง แขนดีอยู่ข้างหน้าแขนปวดอยู่ข้างหลัง ค่อยๆ ใช้แขนดีดึงผ้าขึ้นลง สลับใช้แขนดีอยู่ข้างหลังแขนปวดอยู่ข้างหน้า ทำท่าละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 หน
|
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.ควรงดอาหารมัน ทอด ปิ้ง ย่าง
2.ไม่ควรนอนดึก ไม่ควรนอนเกิน 5 ทุ่ม และควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
3.ควรงดน้ำเย็น
4.ควรดื่มน้ำอุณหภูมิห้องวันละ 3 ลิตรโดยใช้การจิบทุก ๆ 10 นาที
5.ควรทานอาหารประเภทแคลเซียมจากธรรมชาติ เช่น งาดำ ลูกเดือย
6.ควรทานอาหารประเภทแมกนีเซียมจากธรรมชาติ เช่น เมล็ดฟักทอง กล้วย
|
|
|
ข้อสังเกตและคำแนะนำ
การรักษาไหล่ติดด้วยการฝังเข็มผลค่อนข้างดี แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของโรคด้วย ถ้ามารักษาในช่วงแรกมักจะตอบสนองเร็วกว่ามาในระยะเรื้อรัง และตัวผู้ป่วยเองต้องให้การร่วมมือในการออกกำลังกายเสริม เช่น การไต่กำแพงทุกวัน วันละ 2-3 ครั้ง และควรดูแลไหล่ข้างที่มีอาการไม่ให้ถูกลมเย็น
|
|
|
|