|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อาการอ่อนเพลีย
|
คุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง แรงน้อย ใจสั่น มีอาการเวียนศีรษะบ่อยครั้ง มีอาการหนาวง่าย ขาดสมาธิ ง่วงนอน
แต่เมื่อเข้านอนแล้วไม่สามารถหลับได้
เมื่อไปหาหมอและตรวจด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยไม่ว่าจะตรวจเจาะเลือด
ตรวจเอ๊กซ์เรย์่ แต่กลับไม่พบความผิดปกติอะไร ทั้งๆ
ที่คุณก็รู้สึกว่าตัวเองมีความผิดปกติแต่ก็ไม่รู้สาเหตุ
ในทัศนะการแพทย์แพทย์จีน ภาวะอาการเหล่านี้จะเรียกว่า สภาวะพร่อง มี 2 ชนิดหลัก คือ ชี่พร่อง เลือดพร่อง
|
|
|
อาการอ่อนเพลียเป็นอาการที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย เป็นอาการที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น ทำอะไรนิดหน่อยก็จะรู้สึกง่วง แม้ว่าจะพักผ่อนมากแค่ไหน หรือนอนมามากเท่าไรก็ยังไม่รู้สึกสดชื่น ยังรู้สึกว่ายังอ่อนแรง และง่วงนอนอยู่ ซึ่งการที่ร่างกายเกิดอาการง่วงนอนเช่นนี้เป็นเพราะการทำงานของร่างกายขาดความสมดุลทำให้สมองส่งคำสั่งให้ร่างกายต้องการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกายที่ขาดสมดุล
แต่ในยุคปัจจุบันเช่นนี้การที่เกิดอาการอ่อนเพลียเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดความเสียหายในการทำงาน และการใช้ชีวิต เพราะเมื่อร่างกายต้องการพักผ่อน แต่ในความเป็นจริงกลับต้องทำงาน และใช้ชีชีวิตประจำวัน ตามหน้าที่ของแต่ละคน ทำให้ไม่สามารถไปพักผ่อน หรือไปนอนหลับได้ ผลพวงจากการอ่อนเพลียนี้ทำให้สมองไม่สดชื่น คิดงานไม่ออก ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงอาจทำให้งานเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นอาการอ่อนเพลียจึงเป็นอาการที่ไม่ควรปล่อยไว้
อาการอ่อนเพลียในทางแพทย์แผนจีน จะแบ่งเป็นอาการหลักเป็น 2 อาการหลัก คือ อาการชี่พร่อง และอาการเลือดพร่อง
|
|
|
อาการพร่องสาเหตุจากชี่พร่อง
ชี่เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของอวัยวะภาย
ในร่างกาย เป็นตัวกระตุ้น ขับเคลื่อน ให้ความอบอุ่น ปกป้องอันตรายจากภายนอก
ดึงสารน้ำให้อยู่ในร่างกาย การที่ร่างกายเกิดภาวะชี่พร่องจึงจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ระบบอวัยวะต่าง ๆ ทำงานไม่สมดุล เป็นผลให้ในระยะยาวเกิดความผิดปกติของร่างกายและอวัยวะภายใน
อาการของคนที่มีอาการชี่พร่อง ใบหน้าจะไม่สดใส เหนื่อยง่าย พูดเสียงเบาไม่มีพลัง ทำให้ไม่อยากพูด เหนื่อยมากยามเคลื่อนไหวร่างกายเร็ว ๆ หรือเวลาออกกำลังกาย ในบางรายอาจมีอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ ตามัว มีรอยลิ้นตามขอบฟัน ลักษณะชีพจรเล็ก หรืออ่อนพร่องและไม่มีกำลัง
ทางแพทย์แผนจีนสามารถสังเกตุอาการต่าง ๆ ได้ว่าเกิดชี่พร่องที่อวัยวะส่วนใด เช่น
ชี่หัวใจพร่อง นอกจากมีอาการชี่พร่องแล้ว ยังมีอาการใจสั่น ตื่นตระหนก หายใจสั้น
ชี่ปอดพร่อง นอกจากมีอาการชี่พร่องแล้ว ยังมีอาการหายใจเร็วตื้น ไอมีเสมหะมาก เสียงไม่มีพลัง
ชี่ม้ามพร่อง มีชี่พร่องและมีอาการเพิ่มเติมคือ ความอยากอาหารลดลง ท้องอืดแน่น อุจจาระเหลวเป็นน้ำ
ชี่ตับพร่อง มีชี่พร่องและมีอาการเพิ่มเติมคือ อึดอัด หงุดหงิด ตกใจง่าย ชอบถอนหายใจ
ชี่ไตพร่อง มีชี่พร่องและมีอาการ เพิ่มเติมคือ ปวดเมื่อยเอวและเข่า เคลื่อนไหวมากจะมีอาการหอบ ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ สมรรถภาพทางเพศเสื่อม
|
|
|
อาการพร่องสาเหตุจากเลือดพร่อง
เลือดจัดเป็นส่วนสำคัญของร่างกายเพราะมีหน้าที่ในการนำสารอาหารหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นผลให้ร่างกาย และจิตใจสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
ภาวะเลือดพร่องเป็นภาวะการขาดเลือดในร่างกาย เป็นผลให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายขาดสารอาหารที่ไปหล่อเลี้ยง ทำให้อวัยวะภายในขาดเลือดหล่อเลี้ยง คนที่เลือดพร่องไม่จำเป็นต้องเป็นโรคโลหิตจาง โดยทั่วไปของคนที่มีอาการเลือดพร่อง มักจะมีอาการ สีหน้าซีดขาวหรือสีเหลืองอ่อน ๆ
สีของตา ริมฝีปาก เล็บและสีของลิ้นจะซีดขาว มึนศีรษะ ตาแห้ง ใจสั่น
ฝันเยอะขี้ลืม มือเท้าชา และในสตรีอาจมีปัญหาเรื่องประจําเดือนมาน้อย
สีประจำเดือนซีด ประจำเดือนไม่มา เป็นต้น
โดยมากคนที่มีอาการเลือดพร่องมักจะมีอาการชี่พร่องด้วยเสมอ เนื่องจากกระบวนการสร้างพลังลมปราณ “ชี่”
และเลือดภายในร่างกายจะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าชี่เพียงพอ
เลือดก็จะสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์และไหลเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และในทางกลับกัน ชี่ก็ต้องอาศัยเลือดไปหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้น
ถ้าเลือดพร่องลง ชี่ก็จะไม่สมบูรณ์
ส่งผลให้ชี่พร่องและเลือดพร่องเกิดขึ้นร่วมกันอยู่เสมอ
|
|
|
สาเหตุของการเกิดอาการเลือดพร่อง และชี่พร่อง
1.นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนเป็นการที่ร่างกายทำการเสริมสร้าง และซ่อมแซมร่างกาย ดังนั้นการที่นอนไม่พอจะทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเลือด และสร้างชี่ ได้
2.พันธุกรรม ในผู้ป่วยบางรายมีความผิดปกติทางพันธุกรรม มีความผิดปกติของร่างกายในระบบการสร้างเลือด และชี่ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเลือด และชี่ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
3.การเสียเลือด ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอุบัติเหตุ ผ่าตัด คลอดบุตร หรือมีประจำเดือนมากกว่าปกติ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถทำการสร้างเลือดขึ้นมาชดเชยเลือดที่เสียไปจาก เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้เกิดอาการเลือดพร่อง
4.การทำงานของระบบเลือด เช่น ม้าม กระเพาะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร และดูดซึมอาหารแปลงเป็นเลือด รวมถึงการทำงานของปอดที่ทำหน้าที่ฟอกเลือดเสียเป็นเลือดดี ซึ่งหากอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้เกิดความผิดปกติทำให้ระบบเลือดผิดปกติไปด้วย
|
|
|
สมุนไพรบำรุงชี่ และสมุนไพรบำรุงเลือด
1.เก๋ากี้ จัดเป็นผลไม้ที่มีการใช้งานมากว่า 2,000 ปี ในตัวเก๋ากี้มีสารอาหารมากมาย โดยเฉพาะสารโพลีแซคคาไรด์ซึ่งสารดังกล่าวนี้มีหน้าที่ในการฟื้นฟูสภาพเซลให้ฟื้นคืนสภาพได้ดี บำรุงตับไต และช่วยในการบำรุงสร้างโลหิต ทำให้ระบบโลหิตทำงานได้ดีขึ้น สามารถนำมาทานสด หรือนำมาประกอบอาหารก็ได้
2.พุทราแดงจีน พุทราแดงจีนจัดเป็นพืชที่มีสารอาหารประเภท สังกะสี ธาตุเหล็ก แมงกานีส ปริมาณสูงซึ่งสารอาหารดังกล่าวเป็นสารอาหารที่มีผลในการบำรุง และเสริมสร้างโลหิต ดังนั้นการทานพุทราแดงจีนจึงช่วยในการบำรุงเลือดได้เป็นอย่างดี โดยมากในประเทศไทยจะพบพุทราแดงจีนในรูปแบบอบแห้ง ซึ่งสามารถทานสด หรือนำมาใช้ประกอบอาหารก็ได้
3.ดอกคำฝอย ดอกคำฝอยเป็นพืชล้มลุกประเภทไม้ดอกสูงประมาณ 1 เมตร ดอกคำฝอยถูกนำมาทำเป็นชาเพื่อให้ดื่มระหว่างวัน หรือดื่มระหว่างมื้ออาหาร ซึ่งในดอกคำฝอยมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายระบบประสาท และมีสรรพคุณบำรุงโลหิต การดื่มชาดอกคำฝอยระหว่างวันพบว่าทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้นระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น และมีอาการอ่อนเพลียลดลง วิธีการใช้ชงเป็นชาดื่ม
4.กระชาย จัดเป็นพืชชนิดเดียวกับโสมจัดเป็นพืชที่มีสารอาหารมากมายกระชายมีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต บำรุงตับไต นอกจากนี้กระชายยังมีสรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ซึ่งสรรพคุณนี้เป็นการบำรุงชี่ซึ่งเป็นฐานพลังงานของร่างกาย
5.ตังกุย จัดเป็นสมุนไพรที่บำรุงเลือด และ ชี่ ในเวลาเดียวกัน ในตังกุยมีวิตามินบี 12 ในปริมาณสูงซึ่งช่วยในการบำรุงโลหิต บำรุงร่างกาย นอกจากนี้ตังกุยยังมีสรรพคุณในการบำรุงชี่อีกด้วย
6.ไข่ต้ม อาหารที่มีติดตู้เย็นแทบทุกบ้านก็คงหนีไม่พ้นไข่นี่แหละ ไข่จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงย่อยง่าย ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นอาหารที่เสริมสร้างชี่ และพลังงานในร่างกายได้เป็นอย่างดี
|
|
|
การบำบัดรักษาทางแพทย์แผนจีน
1.ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละอาการ เช่น
- อาการอ่อนเพลียตามกลุ่มอาการเลือดพร่อง ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง
- อาการอ่อนเพลียตามกลุ่มอาการชี่พร่อง ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ บำรุงชี่ บำรุงร่างกาย เพิ่มการหมุนเวียน
2.ฝังเข็มตามกลุ่มอาการ ทำการฝังเข็มปรับสมดุลร่างกายตามกลุ่มอาการ
- อาการอ่อนเพลียตามกลุ่มอาการเลือดพร่อง
ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง
- อาการอ่อนเพลียตามกลุ่มอาการชี่พร่อง
ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ บำรุงชี่ บำรุงร่างกาย เพิ่มการหมุนเวียน
|
|
|
คำแนะนำจากแพทย์
1.ควรออกกำลังกายให้พอเหมาะ ไม่หักโหมเกินไป แนะนำให้ออกกำลังกายประเภท ไทเก๊ก ชี่กง โยคะ เพราะการออกกำลังกายดังกล่าวจะช่วยเสริมสร้างชี่ได้ดี
2.ควรดื่มน้ำสะอาด ควรเป็นน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิปกติวันละ 3 ลิตร โดยใช้การจิบเรื่อย ๆ ทั้งวัน ซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยลดการหนืดข้นของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
3.งดอาหารมัน ทอด ปิ้ง ย่าง เพราะอาหารดังกล่าวจะทำให้เลือดหนืดข้นทำให้เกิดการติดขัดของการหมุนเวียนของลมปราณจึงไม่ควรทานอาหารดังกล่าว
4.ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนก่อน 4 ทุ่ม เพื่อให้ร่างกายสามารถเสริมสร้าง ซ่อมแซม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรนอนประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง
5.ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารครบ และเพียงพอต่อการนำไปใช้สร้าง ซ่อมแซมร่างกาย
|
|
|
อย่างไรก็ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีนได้กล่าวไว้ว่า ชี่ และ เลือด ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน หากชี่ไม่ดีเลือดก็จะไม่ดี หากเลือดไม่ดีชี่ก็จะไม่ดี ดังนั้นการบำรุงเลือด และชี่จึงควรไปด้วยกัน
|
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ |
|
|
|