|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรคปวดกระเพาะอาหาร (ปวดท้อง)
|
หนึ่งในปัจจัยสี่ของที่สำคัญมนุษย์ คือ อาหาร ท่านผู้อ่านคงไม่ปฏิเสธว่าชีวิตจะอยู่ไม่ได้หากขาดซึ่งอาหาร ดังนั้นการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพย่อมเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย
แต่คงไม่ดีแน่หากการทานอาหารทำให้ท่านผู้อ่านเกิดอาการไม่สบายตัว ปวดท้อง หรือสร้างความทรมานแก่ท่านผู้อ่าน ถึงแม้ว่าอาหารจะดีเพียงใด มีประโยชน์เพียงใด ในวันนี้เรามาดูเรื่องของโรคกระเพาะอาหารกันครับ |
|
|
ปวดกระเพาะอาหาร…โรคร้ายที่ใกล้ตัว
กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่สำคัญเปรียบเสมือนรากของต้นไม้ คนที่ เป็นโรคกระเพาะอาหารจึงเหมือนต้นไม้ที่รากต้นไม้เป็นโรคจะใส่ปุ๋ยอย่างไร ก็ย่อมทำให้กิ่งใบ ดอก ผล ของต้นไม้นั้นไม่งดงามดั่ง
การปวดในช่องท้องเป็นอาการที่เกิดได้บ่อย และเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งการปวดในช่องท้องมีมากมายหลายสาเหตุ วันนี้เรามาทำความรู้จักโรคปวดกระเพาะอาหารในทรรศนะของแพทย์แผนจีนกันนะครับ
โรคปวดกระเพาะอาหารโดยนิยามจะหมายถึง อาการอักเสบในกระเพาะอาหาร ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร โดยโรคเหล่านี้มีอาการเด่นชัดคือ ปวดบริเวณกระเพาะอาหาร คือบริเวณตรงกลางอกเหนือสะดือประมาณ 1 ฝ่ามือ
|
|
|
สาเหตุ และกลไกการเกิดโรค
1.เกิดจากการใช้ยาบางชนิด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกระเพาะอาหารหลายรายเกิดจาการทานยาที่มีฤทธิ์ระคายเคือง หรือกัดกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน ทำให้กระเพาะอาหารได้รับความเสียหายจนเกิดอาการปวดกระเพาะอาหารได้
2.เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำย่อมมีผลให้เกิดอาการปวดกระเพาะอาหารได้
3.เกิดจากความเครียด เนื่องจากความเครียดมีผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมา ดังนั้นผู้ที่มีความเครียดมาก หรือมีความเครียดบ่อย ๆ จึงมีผลให้เกิดอาการปวดกระเพาะอาหารได้
4.เกิดจากการติดเชื้อ อีกสาเหตุหนึ่งของการปวดกระเพาะอาหารเกิดจากการติดเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งเชื้อตัวนี้จะอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร ซึ่งเชื้อโรคนี้จะฝังตัวอยู่ในกระเพาะอาหาร และทำการปล่อยสารพิษทำให้เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร และทำลายผนังกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดกระเพาะอาหารได้
5.เกิดจากทานอาหารรสจัด หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา การทานอาหารไม่ตรงเวลาจะทำให้กรดที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร หลั่งออกมากัดกระเพาะ ในระยะยาวจะทำให้เกิดอาการปวดกระเพาะอาหารได้
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเรียกอาการนี้ว่า Wei Wan Tong และ Pi Man จากการได้รับผลกระทบจากภายนอก การรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ความซึมเศร้าทำให้ชี่ตับติดขัด ตับและม้ามพร่อง ชี่ตับและม้ามติดขัด
|
|
|
อาการของโรคปวดกระเพาะอาหาร
- ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่าง หรือเวลาหิว
- อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหาร หรือยาลดกรด ผู้ป่วยบางคนอาการปวดจะเป็นมากขึ้นหลังทานอาหาร โดยเฉพาะหลังทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น
- อาการปวดมักเป็น ๆ หาย ๆ มานานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และหายไปหลาย ๆ เดือน จึงกลับมาปวดอีก
- ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว
- บางรายจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือกลางท้องรอบสะดือ มักมีอาการท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกินอาหารท้องจะอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโกรกกราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อ หรือช่วงเช้ามืดผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อยลง และน้ำหนักลดลงบ้างเล็กน้อย
- แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม ไม่มีน้ำหนักตัวลด ไม่ซีดลง |
|
|
การจำแนกกลุ่มเพื่อรักษารักษาทางแพทย์แผนจีน
1.ความเย็นชื้นกระทบกระเพาะ
อาการทางคลินิก : มีอาการปวดท้องอย่างฉับพลัน ปวดรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีไข้กลัวหนาว ความเย็นจะทำให้อาการแย่ลง ส่วนความอุ่นจะทำให้อาการดีขึ้น
ลักษณะลิ้น : ลิ้นซีดขาว
ลักษณะชีพจร : ชีพจรตึงและแน่น
2.ความร้อนชื้นสะสมในกระเพาะ
อาการทางคลินิก : มีอาการปวดแบบแสบร้อน ท้องอืดและปวดบริเวณลิ้นปี่ อาการเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหาร มีกลิ่นปาก อุจจาระร่วงฉับพลัน ถ่ายไม่ค่อยออก และแสบร้อนที่ทวารหนัก
ลักษณะลิ้น : ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองเหนียว
ลักษณะชีพจร : ชีพจรลื่น เร็ว
3.อาหารตกค้าง
อาการทางคลินิก : มีอาการท้องอืด จุกแน่นลิ้นปี่ ปวดท้อง มีกรดไหลย้อน อาการปวดท้องจะลดลงหลังอาเจียน ขับถ่ายไม่คล่องและมีกลิ่นเหม็น
ลักษณะลิ้น : ลิ้น มีฝ้าหนา
ลักษณะชีพจร : ชีพจร ตึงลื่น
4.มีความเย็นพร่องในม้ามและกระเพาะอาหาร
อาการทางคลินิก : ปวดตื้อๆแน่นๆบริเวณลิ้นปี่ การกดท้อง และความอุ่นช่วยบรรเทาอาการปวด มักจะปัสสาวะ และอุจจาระบ่อย มีอาการหนาวสั่น อาการจะแย่ลงเมื่อกระทบความเย็น เบื่ออาหาร ท้องอืด
ลักษณะลิ้น : ลิ้น ฝ้าขาวบาง
ลักษณะชีพจร : ชีพจร ลึกและช้า
5.ชี่ตับกระทบกระเพาะอาหาร
อาการทางคลินิก : ท้องอืดบริเวณลิ้นปี่ มีกรดไหลย้อน อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อตื่นเต้น
ลักษณะลิ้น : ลิ้น ฝ้าขาวเหนียว
ลักษณะชีพจร : ชีพจร ตึง
6.ชี่ติดขัดและเลือดคั่ง
อาการทางคลินิก : มีอาการปวดท้องเหมือนถูกเข็มทิ่มบริเวณลิ้นปี่ ปวดนานๆจะมีอาการร้าวไปหลัง การกดจะทำให้อาการปวดมากขึ้น
|
|
|
การบำบัดรักษาอาการปวดกระเพาะอาหารทางแพทย์แผนจีน
1.ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละอาการ
- อาการปวดกระเพาะอาหารตามกลุ่มอาการความเย็นชื้นกระทบกระเพาะ ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ อบอุ่นกระเพาะอาหาร ขับชื้น บำรุงม้าม บำรุงกระเพาะอาหาร
- อาการปวดกระเพาะอาหารตามกลุ่มอาการความร้อนชื้นสะสมในกระเพาะ ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ ขับร้อน ขับชื้น บำรุงม้าม บำรุงกระเพาะอาหาร
- อาการปวดกระเพาะอาหารตามกลุ่มอาการอาหารตกค้าง ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ บำรุงม้าม บำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร
2.ฝังเข็มตามกลุ่มอาการ ทำการฝังเข็มปรับสมดุลร่างกายตามแต่ละกลุ่มอาการ
- อาการปวดกระเพาะอาหารตามกลุ่มอาการมีความเย็นพร่องในม้ามและกระเพาะอาหาร ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ อบอุ่นม้าม อบอุ่นกระเพาะอาหาร บำรุงม้าม บำรุงกระเพาะอาหาร
- อาการปวดกระเพาะอาหารตามกลุ่มอาการชี่ตับกระทบกระเพาะอาหาร ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ ระบายชี่ตับ บำรุงม้าม บำรุงกระเพาะอาหาร
- อาการปวดกระเพาะอาหารตามกลุ่มอาการชี่ติดขัด และเลือดคั่ง ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ ระบายชี่ตับ เพิ่มการหนุนเวียนของชี่ สลายเลือดคั่ง บำรุงม้าม บำรุงกระเพาะอาหาร
|
|
|
สมุนไพรบรรเทาอาการโรคปวดกระเพาะอาหาร
1.กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวผักพื้นบ้านของไทย ในกระเจี๊ยบเขียวมีสารประกอบไกลโคไซเลต ซึ่งจะช่วย ลดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร และช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร การทานกระเจี๊ยบเขียวเป็นประจำจึงช่วยทำให้อาการของโรคปวดกระเพาะอาหารทุเลาเบาบางลง วิธีการใช้ ทานสด หรือลวกทานพร้อมมื้ออาหาร
2.ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรคู่ครัวไทย มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อตามธรรมชาติ ช่วยลดอาการระคายเคือง และเป็นยาสมานแผลตามธรรมชาติ การทานขมิ้นชันเป็นประจำจะช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง และการอักเสบในกระเพาะอาหารได้ วิธีการใช้ใช้ผสมในอาหาร หรือทานสด
3.ว่านหางจระเข้ ในว่านหางจระเข้เป็นลักษณะวุ้น ซึ่งมีสรรพคุณรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี แต่จุดสำคัญเมื่อทำการปอกเปลือกว่านหางจระเข้ ให้ล้างยางเมือกสีเหลืองออกให้หมดเพราะยางนี้มีผลทำให้แพ้ได้
4.กล้วยน้ำว้าดิบ ในกล้วยน้ำว้าดิบมีสารที่ชื่อว่า "แทนนิน" ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และสารเซโรโทนิน ซึ่งจะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร การทานกล้วยดิบเป็นประจำจึงช่วยบรรเทาอาการของโรคปวดกระเพาะอาหารได้ |
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.รับประทานอาหารให้ถูกวิธี โดยทานอาหารให้ตรงเวลา เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่ทานอาหารมากเกินไป ไม่ควรทานดึก งดทานอาหารที่ทำให้อืดแน่นท้อง และงดอาหารที่กัดกระเพาะ
2.ไม่ควรนอนดึก ควรนอนระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น.
3.ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 3 ลิตร โดยใช้การจิบตลอดทั้งวัน
4.ควรทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้น้อย ควรทานผักให้มาก
5.ควรงดอาหารประเภท มัน ทอด ปิ้ง ย่าง
|
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ |
|
|
|