|
|
|
|
เก๋ากี๋ยาอายุวัฒนะ 3000ปี
|
|
|
|
|
|
|
|
เก๋ากี้ หรือ โก๋วฉี (Lycium Barbarum) เป็นผลของต้นเก๋ากี้ จัดเป็นผลไม้ประเภทเบอร์รี่
ผลสีแดงสด รสหอมหวาน โดยทั่วไปจะใช้ผลอบแห้งที่มีลักษณะเหมือนลูกเกดที่ทำจากองุ่น เก๋ากี้
ที่มีคุณภาพดีจะมาจากมณฑลหนิงเซี่ยและมณฑลกานซู่ของประเทศจีน โดยตัวเก๋ากี้เองนั้นจะมี
วิตามีนเอ ที่ช่วยรักษาสายตา ทำให้ผิวหนังดูอ่อนวัย รวมทั้งยังมีวิตามีนบีอีกหลายชนิด เพื่อช่วยใน
กระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกาย มีวิตามีนซีสูง เมื่อเทียบกับส้มแมนดารินถึงกว่า 500 เท่า ที่น้ำ
หนักเท่ากัน นอกจากนี้ยังช่วยเสริมพละกำลัง มีวิตามีนอี ช่วยให้ความดันโลหิตและการทำงานของ
หัวใจเป็นปกติ
เก๋ากี้ยังมีน้ำตาลที่เรียกว่า พอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีบทบาทเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยกระตุ้น
เซลล์เม็ดเลือดขาวฟาโกไซต์(Phagocyte cell) ซึ่งทำหน้าที่กลืนกินเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
เสริมสมรรถภาพของเอนไซม์แบคทีริโอไลติก (Bacteriolytic Enzyme) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายแบคทีเรียและเสริมการทำงานของแอนติบอดี อีกทั้งยังเพิ่มจำนวนเซลล์แอนติบอดีอีกด้วยเก๋ากี้
ยังคงมีกรดอะมิโน 18 ชนิดและสารอาหารรองอีกกว่า 21 ชนิด ช่วยเสริมความงามและลดความอ้วน
นอกจากนี้ยังมีสารฟลาโวนอยด์ พอลิฟีนอล แคโรทีนและไพราโซล (Pyrazoles) สารเหล่านี้ช่วยเสริม
สมรรถภาพของระบบภูมิคุ้มกัน และระบบรักษาตัวเองของร่างกาย ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์
ช่วยขจัดพิษของอวัยวะภายใน โดยเฉพาะไตและตับ ดังนั้นการกินเก๋ากี้เป็นประจำทำให้สุขภาพแข็งแรง
อายุยืนยาว และกระชุ่มกระชวยอยู่เสมอ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เคล็ดลับการกินเก๋ากี้ |
|
|
|
|
|
นอกจากเราจะกินเก๋ากี้ในแบบเครื่องตุ๋นยาจีนแล้ว การเคี้ยวกินเล่นเป็นอาหารว่างซึ่งก็จะมีรสหวานอ่อนๆ หรือจะใช้แช่น้ำอุ่นทำแบบชาก็สามารถทำได้ |
|
|
|
|
|
สมุนไพรเก๋ากี้ในเชิงแพทย์จีน |
|
|
|
|
|
บำรุงอวัยวะภายในอาทิ ตับ, ไต, และปอด ช่วยบำรุงเลือด บำรุงสายตา รักษาโรคตาบอดกลางคืน น้ำในตาแห้ง ช่วยให้น้ำตาลในเลือดและอินซูลินเกิดความสมดุล ลดความดันโลหิต สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ชะลอความแก่ แก้อาการอ่อนเพลีย ลดคลอเลสเตอรอล ยับยั้งการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันโรคภูมิแพ้ ลดเครียด ช่วยเรื่องความจำ ช่วยแก้ไขในเรื่องสมรรถภาพทางเพศ |
|
|
|
|
|
วิธีรับประทาน |
|
|
|
|
|
ทานวันละ 20 เม็ด ชงน้ำอุ่นดื่ม หรือใส่น้ำแกงทำเป็นซุปได้
|
|
|
|
|
|
|
***หมายเหตุ ข้อควรระวัง สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้ มีอาการร้อนใน ควรงดรับประทาน |
|
|
|
|
|
|