|
|
|
|
อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก(面瘫) ...
โรคร้ายทำลายบุคลิกภาพ(Bell's palsy) |
|
|
|
|
|
โรคที่ทำร้ายจิตใจผู้ป่วยและบั่นทอนความมั่นใจของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อย่างมาก ทั้งที่มีสาเหตุมาจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ หรือจากเชื้อไวรัสที่ทำลายเส้นประสาทคู่ที่ 7 ของสมอง ซึ่งมีหน้าที่บังคับและควบคุมใบหน้าก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคดังกล่าว |
|
|
|
|
|
» การบำบัดรักษาของแพทย์แผนจีน |
|
|
|
|
|
Siam TCM Clinic จะทำการตรวจอาการของคนไข้ โดยใช้หลักการตรวจวินิจฉัยตามแพทย์แผนจีนที่แบ่งกลุ่มจำแนกอาการและสาเหตุของโรค ตามแต่ละกลุ่มอาการโดยใช้ |
|
|
|
|
|
» การฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณเฉพาะจุด ทะลวงเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องเช่น
- จุดอิ๋งเซียง (ตำแหน่งอยู่ที่ปีกจมูกห่างออกข้างประมาณ 2 เซนติเมตร) ร่วมกับ
- จุดเหอกู่ (ตำแหน่งอยู่ที่เมื่อคว่ำฝ่ามือให้หัวแม่มือและนิ้วชี้ติดกันตรงจุดสูงสุดของกล้ามเนื้อที่นูนขึ้นมาระหว่างนิ้วทั้งสอง) ทำการฝังเข็มใบหน้าด้านที่เป็นหรือทั้ง 2 ด้านก็ได้ เพื่อช่วยกระตุ้นพลังชี่และเลือดให้ไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่เป็นโรค บำรุงกล้ามเนื้อและกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า
» การทานยาสมุนไพรจีน ปลอดภัยและไม่มีสารตกค้าง
» การนวดกดจุด นวดทุยหน่า การกัวซา ตามจุดเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการกระตุ้นการหมุนเวียนพลังชี่และเลือดให้ไหลเวียนไม่ติดขัด รวมถึงแนะนำคนไข้ให้ออกกำลังกาย ทางใบหน้าเช่น การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าโดยการทำปากออกเสียง อู – อา – อี ทำซ้ำๆ ครั้งละ 5 – 10 นาที ร่วมกับการกดจุดเหอกู่ ด้วยเพื่อเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนพลังชี่และเลือดให้มาหล่อเลี้ยงเส้นเลือดที่ใบหน้า |
|
|
|
|
|
อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก(面瘫) หมายถึง กลุ่มอาการชาบริเวณใบหน้าครึ่งซีก หน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรืออาการปากเบี้ยวข้างหนึ่ง กล้ามเนื้อหน้าตกข้างหนึ่ง หนังตาตกข้างหนึ่ง |
|
|
|
|
|
» สาเหตุและกลไกการเกิดโรค |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
1.ปัจจัยลมภายนอกเข้ามากระทบก่อให้เลือดและชี่บริเวณใบหน้าไหลเวียนผิดปกติ เส้นเลือดขาดการบำรุงเลี้ยง ทำให้เกิดอาการอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกขึ้น
2.เสมหะติดขัดภายใน อาจเนื่องมาจากการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด อาหารมัน หรือผู้ที่ชอบดื่มเหล้าก่อให้เกิดเสมหะขึ้น เสมหะกระตุ้นลมภายใน เสมหะและลมเคลื่อนไปอุดกั้นอยู่ที่บริเวณใบหน้าส่งผลให้เส้นเลือดและเส้นลมปราณบริเวณใบหน้าติดขัด ก่อให้เกิดอาการอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกขึ้น
3.ภาวะเลือดคั่ง อาจเนื่องมาจากผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายหรือขาดการรักษาที่ถูกวิธี ก่อให้เกิดภาวะเลือดคั่งภายใน เมื่อเลือดคั่งก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดเกิดการติดขัดไม่สะดวก ส่งผลให้เส้นประสาททำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้ |
|
|
|
|
|
การวินิจฉัยโรค อาศัยอาการหลักทางคลินิกดังนี้ |
|
|
|
|
|
อาการทางคลินิกมักจะเกิดกะทันหัน ซึ่งมักเกิดหลังจากตื่นนอนตอนเช้า โดยผู้ป่วยจะรู้สึกว่าบริเวณซีกที่เป็นมีความรู้สึกชา หรือตึง หรือไม่มีแรง มีอาหารตกค้างบริเวณกระพุ้งแก้มด้านที่เป็น บริเวณหลังหรือใต้หูข้างที่เป็น อาจจะมีอาการปวด หรือหูอื้อ การรับรสของลิ้นซีกที่เป็นลดลงหรือหายไป บางรายน้ำตาไหล |
|
|
|
|
|
ผู้ป่วยจะมีรอยย่นที่หน้าผากตื้นขึ้น หรือไม่มีเลย, หลับตาไม่สนิท, รอยมุมปากตื้นขึ้นหรือหายไป, ร่องใต้จมูกเอียงไปทางซีกที่เป็น, ยกคิ้วขึ้นข้างบน เป่าปากหรือทำแก้มป่องลำบาก |
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ
|
|
|
|