|
มักจะมีอาการปวดเอวเรื้อรัง นอกจากนี้เด็กบางคนมีอาการปวดเอว อาจเกิดจากการเลี้ยงของพ่อแม่ที่สร้างอิริยาบถให้ลูกผิดพลาด เช่น ให้ยืนเร็วไป ให้นั่งผิดท่า จนกระดูกช่วงเอว L1-L5 พัฒนาการไม่ถูกต้องเกิดการกดทับ อย่างไรก็ตามการปวดเอวในทรรศนะของแพทย์แผนจีนจะพิจารณาถึงการพร่องของไตเป็นหลัก แม้กระทั่งการเริ่มต้นจากอุบัติเหตุสุดท้ายจะไปจบลงที่การทำงานของไตที่พร่องลง เมื่อการทำงานของช่วงเอวแย่ลงปลายประสาทเอวจะถูกกดทับ เดินไม่ได้และจบลงด้วยการเป็นอัมพาตท่อนล่าง |
|
|
|
|
|
» การบำบัดรักษาทางการแพทย์แผนจีน |
|
|
สยามแพทย์ทางเลือกคลินิก สยามคลินิกการแพทย์แผนไทย จะทำการรักษาอาการปวดเอวตามแต่ละกลุ่มอาการและสาเหตุของโรคโดย |
|
|
|
|
|
» การฝังเข็มตามแต่ละกลุ่มอาการเพื่อบรรเทาอาการปวดเอวเช่น
- จุดเซิ่นซู ตำแหน่งอยู่ระดับขอบล่างปุ่มกระดูกสันเอวที่ 2 อยู่ด้านข้างห่างจากกระดูกไขสันหลังออกมา 1.5 นิ้ว
- จุดเหว่ยจง ตำแหน่งอยู่ตรงกึ่งกลางของรอยพับหลังเข่าและ
- จุดฝังเข็มอื่นๆ เช่น จุดมิ่งเหมิน, จุดต้าฉางซู เป็นต้น
» การนวดกดจุด นวดคลายบริเวณช่วงเอว นวดจัดเรียงกระดูกในกรณีหมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือคดผิดปกติ ร่วมด้วยการกดจุดเส้นลมปราณช่วงหมอนรองกระดูกเอว เช่น จุดเซิ่นซู, จุดมิ่งเหมิน, จุดต้าฉางซู เป็นต้น
» ทานยาสมุนไพรจีน ที่ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้างตามอาการปวดเอวตามแต่ละกลุ่มอาการ |
|
|
|
|
|
» ระหว่างการรักษา คนไข้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จีน |
|
|
|
|
|
1.ห้ามยกของหนัก และทำกิจกรรมที่ใช้ช่วงเอวและขามากเกินไปเช่น เดินถือของระยะทางไกล, ขึ้นลงบันไดชันๆ
2.ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ การแกว่งแขนบำบัดโรคปวดเอววันละ 2 – 3 ครั้ง แต่ละครั้งทำ 10-15 นาที
3.ทานน้ำ 2-3 ลิตรต่อวัน
4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ |
|
|
|
|
|
อาการปวดเอว หมายถึง การปวดบริเวณสันหลังส่วนเอว ไม่ว่าจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง อาการปวดจะแตกต่างกันไป เช่นอาจจะปวดแบบรำคาญ ปวดเมื่อยๆ เป็นๆ หายๆ หรืออาจจะปวดเหมือนมีเข็มทิ่มแทง เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บมาก |
|
|
|
|
|
» สาเหตุและกลไกการเกิดโรค |
|
|
|
|
|
1.ปัจจัยก่อโรคจากภายนอก อาทิเช่น การอาศัยอยู่บริเวณที่มีความชื้นสูงเป็นเวลานานๆ หรือขณะเหงื่อออกแล้วถูกลม หรือสวมเสื้อผ้าบางเกินไป หรือตากฝน สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้ลม ความเย็น ความชื้น ความร้อน เข้ามาภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความผิดปกติขึ้น โดยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เข้ามาทำให้เกิดการติดขัดไหลเวียนไม่คล่องของชี่และเลือด แล้วก่อให้เกิดอาการปวด ซึ่งปัจจัยภายนอกที่พบได้บ่อยคือ ความชื้นและร้อนชื้น |
|
|
|
|
|
2.ปัจจัยก่อโรคจากภายใน เช่น ผู้สูงอายุหรือผู้ที่ร่างกายพร่องอ่อนแอแต่กำเนิด ผู้ที่ตรากตรำทำงานมากเกินไป หรือผู้ที่มีการเจ็บป่วยเรื้อรังมานาน หรือจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้สารจำเป็น(精) ของไตพร่อง ทำให้เส้นเลือด เส้นเอ็นรวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณเอวขาดการบำรุงเลี้ยงที่เพียงพอ จึงก่อให้เกิดอาการปวด(เมื่อยเอว เข่าอ่อน) |
|
|
|
|
|
3.อุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดอาการเลือดคั่ง อาทิเช่น การหกล้ม ทำให้เอวเคล็ด การยกของหนักเกินไป หรือที่เกิดจากการบิดตัวมากเกิน เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดภาวะชี่และเลือดไหลเวียนไม่คล่อง เกิดเลือดคั่งอยู่บริเวณเอว ทำให้เกิดอาการปวดและอาจทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทช่วงเอวหรือหมอนรองกระดูกคด, เคลื่อน, อักเสบ เป็นต้น |
|
|
|
|
|
นอกจากนี้ในทางการวินิจโรคแนวทางแพทย์แผนจีนยังระบุและจำแนกกลุ่มอาการต่าง ๆ โดยจะจำแนกกลุ่ม ดังนี้ |
|
|
|
|
|
1.ปวดเอวจากความเย็นชื้น(寒湿腰痛) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเย็นๆ หนักๆ บริเวณเอว บิดตัวไม่สะดวก เมื่ออากาศมืดครึ้มหรือมีฝนตก อาการจะกำเริบหนักขึ้น เมื่อคนไข้พักผ่อนหรือนั่งเฉยๆ อาการจะทุเลาลง แขนขาเย็น มีอาการแน่นอึดอัดบริเวณท้องและทรวงอก รู้สึกหนักตามแขนขา ลิ้นซีด ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรจมช้า อ่อนโยน |
|
|
|
|
|
2.ปวดเอวจากความร้อนชื้น(湿热腰痛) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเอวแบบร้อนๆ และหนักๆ เมื่ออากาศมืดครึ้มหรือมีฝนตก อาการปวดจะมากขึ้น ถ้าหากมีการเคลื่อนไหวจะทำให้อาการปวดทุเลาลง ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าร่างกายหนักๆ ปัสสาวะน้อย บางรายมีอาการปากขม ฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรนุ่มเร็วหรือตึงเร็ว |
|