|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรคตับแข็ง
肝硬
|
โรคตับแข็ง จัดเป็นโรคตับชนิดหนึ่งที่เกิดจาการที่เนื้อเยื่อตับผิดปกติ หรือเกิดสาเหตุที่ทำให้เนื้อเยื่อตับเกิดความเสียหายหรือถูกทำลายเป็นเวลานาน จนกลายเป็นพังผืดทำให้ตับมีลักษณะแข็งกว่าปกติ และทำให้ตับไม่สามารถหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ตับจัดเป็นอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย ตับมีหน้าที่ในการกรอง และกำจัดของเสียในร่างกาย และช่วยในการสร้างสารอาหาร มีหน้าที่สะสมเลือด ปรับสมดุลเลือดในร่างกาย รวมทั้งควบคุมการไหลเวียนของลมปราณในร่างกายให้เป็นไปอย่างราบรื่น
โดยมากโรคตับแข็งจะเกิดจากการที่เป็นโรคตับชนิดอื่นจนพัฒนามาเป็นโรคตับแข็ง เช่น โรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งเป็นโรคตับเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย
สามารถเกิดจากหนึ่งปัจจัยหรือหลายปัจจัยที่ทำลายตับเป็นเวลานาน
โดยปกติอวัยวะตับจะมีลักษณะนุ่ม แต่ถ้าเกิดมีอาการอักเสบ
ก็จะทำให้ตับถูกทำลายจนเป็นพังผืด เป็นแผลขรุขระ
ทำให้เลือดไปเลี้ยงตับน้อยลง
พอเรื้อรังนานเข้าก็จะทำให้เซลล์ตับที่เคยนุ่มค่อยๆแข็งขึ้นกลายเป็นตับแข็ง
ในที่สุด
|
|
|
สาเหตุการเกิดโรคตับแข็ง
1.เกิดจากการดื่มสุราติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
เพราะแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความผิดปกติของการใช้โปรตีน ไขมัน
และคาร์โบไฮเดรตในตับ เป็นผลให้ตับทำงานผิดปกติ หากเป็นในระยะยาว ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ และเรื้อรังจนเป็นตับแข็งได้
2.เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิดเอ , ชนิดบี , ชนิดซี เรื้อรังเป็นเวลานาน โดยไวรัสทั้ง 3
ชนิดนี้มีผลให้ตับทำงานผิดปกติ และมีผลทำให้ตับเกิดความเสียหาย จึงจัดเป็นสาเหตุที่ทำให้ตับเกิดอาการอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นโรคตับ
แข็งได้ในที่สุด
3.เกิดจากการใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือการได้รับสารพิษบางประเภท เช่น สารหนู เนื่องจากตับมีหน้าที่ในการกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งในยาบางชนิดมีสารเคมีบางตัวซึ่งในร่างกายมองว่าเป็นสารพิษ จึงนำสารพิษนั้นมากำจัดที่ตับ เมื่อตับขจัดสารพิษนานเข้าทำให้ตับเกิดการเสียหาย และอาจเกิดการตกค้างของสารพิษจนก่อภาวะตับอักเสบเรื้อรังได้
4.เกิดจากภาวะดีซ่านเรื้อรัง โดยปกติน้ำดีจะถูกส่งขึ้นไปที่ตับ
และไหลลงมาสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นตามท่อน้ำดี แต่การเป็นโรคดีซ่านจะทำให้การทำงานของระบบนี้เกิดความผิดปกติ อุดตัน เสียหาย หรือตีบตันเป็นเวลานาน
น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับก็จะสามารถทำลายเนื้อตับจนเป็นตับแข็งได้
5.เกิดจากภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ทำให้เส้นเลือดไปคั่งที่ตับ เป็นผลให้เลือดไหลเวียนในตับน้อยลง ทำให้เนื้อตับขาดภาวะออกซิเจนจนตายลงจนกลายเป็นภาวะตับแข็ง
6.เกิดจากโรคตับอักเสบจากไขมัน
เกิดจากภาวะที่มีไขมันสะสมที่ตับเป็นจำนวนมาก
อาจจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นตับแข็งได้
นอกจากนี้อาจพบร่วมกับโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น |
|

|
อาการของโรคตับแข็ง
โรคตับแข็งระยะแรก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการหรือมีอาการผิดปกติน้อยมากหรือไม่ชัดเจน โดยอาจมีเพียงอาการท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย แต่ต่อมาเป็นแรมปีจะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนเป็นบางครั้ง น้ำหนักตัวลดลง เท้าบวม ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวาเล็กน้อย ตัวเหลืองตาเหลือง (ดีซ่าน) คันตามผิวหนัง ความรู้สึกทางเพศลดลง ป่วยบางรายอาจสังเกตเห็นฝ่ามือแดงผิดปกติ หรือมีจุดแดงที่หน้าอก หน้าท้อง ในผู้ชายอาจรู้สึกนมโตและเจ็บ อัณฑะฝ่อตัว หรือมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือองคชาตไม่แข็งตัว (Erectile dysfunction) ในผู้หญิงอาจมีอาการประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอ มีหนวดขึ้น หรือมีอาการเสียงแหบห้าวคล้ายผู้ชาย
โรคตับแข็งระยะสุดท้าย เมื่อเป็นโรคตับแข็งอยู่หลายปีหรือยังดื่มแอลกอฮอล์จัด ผู้ป่วยจะมีอาการท้องมาน เท้าบวม เนื่องจากตับไม่สามารถสร้างโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) ซึ่งเป็นตัวควบคุมความดันน้ำในหลอดเลือดได้เพียงพอ พังผืดที่ดึงรั้งในตับก็จะมากขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ มีแรงดันในเลือดเพิ่มมากขึ้น เกิดการแตกแขนงเป็นเส้นเล็ก ๆ ซึ่งจะเปราะบางและแตกได้ง่าย จึงทำให้เห็นเป็นหลอดเลือดพองที่หน้าท้อง เกิดหลอดเลือดขอดที่หลอดอาหาร (Esophageal varices) ซึ่งอาจจะแตกและทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือดสด ๆ ทำให้เสียเลือดมากและอาจถึงชั้นช็อกและเสียชีวิตได้ ในระยะสุดท้ายเมื่อตับทำงานไม่ได้ (ตับวาย) ผู้ป่วยก็จะเกิดอาการทางสมอง เช่น หลงลืมง่าย สับสน ซึม เพ้อ มือสั่น และจะค่อย ๆ ไม่รู้สึกตัวจนกระทั่งหมดสติไป เรียกว่า “ภาวะหมดสติจากตับวาย” (Hepatic coma)
|
|
|
วิธีการตรวจวินิจฉัยทางแพทย์แผนตะวันตก
1.การตรวจโดยภาพถ่ายทางการแพทย์ การตรวจอัลตราซาวด์ตับ น้ำดีและม้าม ซึ่งการตรวจอัลตราซาวด์ตับคือการประเมินระดับของโรคตับแข็ง สามารถพิจารณาร่วมกับระดับค่า AFP ( alpha-fetoprotein ) ที่สูงขึ้น และยังเป็นวิธีที่สำคัญในการตรวจพบมะเร็งตับระยะแรกอีกด้วย
2.การตรวจสาเหตุของโรค การตรวจสาเหตุของโรครวมถึงการตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและ HBVDNA หากไวรัสตับอักเสบบีแสดงผลว่าเอนติเจนเป็นบวกก็บ่งชี้ว่าเป็นผู้ที่มีพาหะไวรัสตับอักเสบบี
3.การตรวจสมรรถภาพของตับ เพื่อทำความเข้าใจอาการป่วยของผู้ป่วยโรคตับแข็งว่าหนักเบาแค่ไหน
4.การตรวจค่าบ่งชี้ตับเป็นพังผืด 4 ข้อ การเป็นพังผืดของตับเป็นขั้นตอนของโรคตับเรื้อรังพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็ง การตรวจค่าบ่งชี้ตับเป็นพังผืด 4 ข้อสามารถช่วยตรวจพบเร็วและบรรเทาโรคตับเป็นพังผืดอย่างทันท่วงที ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการหลีกเลี่ยงไม่ให้ตับพังผืดพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็ง
5.การตรวจชิ้นเนื้อตับ การเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับสามารถวินิจฉัยโรคตับแข็งได้
6.การตรวจโดยการส่องกล้องช่องท้อง สามารถตรวจอวัยวะและเนื้อเยื่อในช่องท้อง เช่น ตับ ม้าม เป็นต้น ได้โดยตรง และสามารถเจาะเนื้อเยื่อไปตรวจได้ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยที่มีความลำบากในการวินิจฉัย
|
|
|
การจำแนกประเภทของโรคตับแข็งทางการแพทย์แผนจีน
1.ชี่ตับติดขัด ( 肝气郁结证 )
อาการทางคลินิก ปวดแน่นชายโครง ปวดใต้ลิ้นปี่ ท้องอืด คลื่นไส้และเรอ เบื่ออาหาร
ลักษณะลิ้น และชีพจร ลิ้น แดง ฝ้าขาวบาง ชีพจร ตึง ( 弦脉)
2.ร้อนชื้นอุดกั้นภายใน ( 湿热内蕴证 )
อาการทางคลินิก ใบหน้าผู้ป่วยออกเหลืองคลายผลส้มสดใส อึดอัดแน่นใต้ลิ้นปี่ เบื่ออาหาร อาเจียน ขมปากและปากแห้ง ปวดชายโครง ท้องอืดแน่น อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง หรือคันตามผิวหนัง ปัสสาวะสีเข้ม ท้องผูก หรือถ่ายเหลว
ลักษณะลิ้น และชีพจร ลิ้น มีฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจร เร็ว (滑数) หรือลอยอ่อน เร็ว (濡数)
3.ม้ามพร่องความชื้นเกิน ( 脾虚湿盛证 )
อาการทางคลินิก ใจสั่น หายใจสั้น อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก แน่นท้อง ปวดชายโครง เบื่ออาหาร อุจจาระเหลว ใบหน้าขาวซีด ปวด
ลักษณะลิ้น และชีพจร ลิ้นซีดมีรอยฟันหยัก ฝ้าขาวเหนียว ชีพจรตึง, เล็ก ไม่มีกำลัง
4.หยางม้ามไตพร่อง ( 脾肾阳虚证 )
อาการทางคลินิก ท้องบวมใหญ่ เหมือนท้องมาน แน่นท้อง เบื่ออาหาร ท้องเสียตอนตี 5 ปัสสาวะไม่คล่อง เมื่อยเอวเข่าอ่อน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เท้าบวม เย็น
ลักษณะลิ้น และชีพจร ชีพจรลึก เล็ก ลิ้นบวมซีด ฝ้าขาวเขรอะ
5.ยินตับไตพร่อง ( 肝肾阴虚证 )
อาการทางคลินิก ปวดเสียดชายโครงแบบตื้อ ใจสั่น หายใจสั่น อ่อนเพลียไม่มีแรง ปวดเมื่อยเอว เวียนศีรษะ ตาแห้ง น้ำกามเคลื่อน เบื่ออาหาร ปากแห้ง คอแห้ง
ลักษณะลิ้น และชีพจร ตัวลิ้นแดง ชีพจรตึงเล็กเร็ว
6.เลือดคั่งอุดกั้นที่ตับ ( 肝血瘀证 )
อาการทางคลินิก ปวดท้องเหมือนเข็มทิ่ม ปวดไม่แน่นอน หรือ มีก้อนแข็งใต้ชายโครง ฝ่ามือเหลืองแดง มีอาการเส้นเลือดแตกเหมือนผีเสื้อ ตามใบหน้า ทรวงอกด้านหน้า ด้านหลัง ตามร่างกาย หรือท้องเห็นเส้นเลือดเขียวคล้ำชัดเจน ใบหน้าม่วงคล้ำ
ลักษณะลิ้น และชีพจร ชีพจรตึงหรือฝืด ตัวลิ้นม่วงคล้ำมีจุดลิ่มเลือด
|
|
|
การบำบัดรักษาทางแพทย์แผนจีน
1.ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละอาการ เช่น
- โรคตับแข็งที่เกิดจากชี่ตับติดขัด ให้ยาที่มีสรรพคุณ ระบายตับ เพิ่มการไหลเวียนของชี่ แก้ชี่ตับติดขัด
- โรคตับแข็งที่เกิดจากร้อนชื้นอุดกั้นภายใน ให้ยาที่มีสรรพคุณ ระบายร้อนขับชื้น เพิ่มการไหลเวียนของเลือดลมภายในตับ
- โรคตับแข็งที่เกิดจากม้ามพร่องความชื้นเกิน ให้ยาที่มีสรรพคุณ อบอุ่นบำรุงม้าม ขับชื้น
2.ฝังเข็มตามเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องตามแต่ละกลุ่มอาการ เช่น
- โรคตับแข็งที่เกิดจากหยางม้ามไตพร่อง ใช้วิธีการบำรุงม้าม บำรุงไต
- โรคตับแข็งที่เกิดจากยินตับไตพร่อง ใช้วิธีการบำรุงตับ บำรุงไต
- โรคตับแข็งที่เกิดจากเลือดคั่งอุดกั้นที่ตับ ใช้วิธีการสลายเลือดคั่ง เพิ่มการไหลเวียนของตับ
3.การนวดกดจุด ตามจุดฝังเข็มเพื่อบรรเทาอาการ เช่น จุดไท่ชง จุดยินหลินฉวน จุดซานอินเจียว จุดเหอกู่ จุดกันซู และจุดอื่น ๆ ตามเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้องกับโรคตับ
|
|
|
สมุนไพร และการนวดบรรเทาอาการตับแข็ง
1.นวดบริเวณใต้ชายโครงขวาเป็นที่ของตับ เราสามารถใช้ฝ่ามือลูบบริเวณนี้ไปมา10ครั้ง ทุกวัน
2.กดจุดปรับสมดุลของตับที่จุดไท่ชง
อยู่บริเวณง่ามนิ้วโป้งเท้ากับนิ้วชี้เท้าขึ้นมาทางข้อเท้าประมาณ1นิ้ว
กดบ่อยๆเป็นประจำจะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพตับ
3.กดจุดปรับสมดุลของตับที่จุดสิงเจียง อยู่ง่ามเท้าระหว่างหัวแม่โป้งกับนิ้วชี้ กดให้เจ็บเสียว ทำบ่อยๆจะช่วยระบายความร้อนที่ตับ
4.ใช้กำปั้นทุบด้านในของขาตั้งแต่ตาตุ่มขึ้นถึงเข่า 36ครั้ง
และทุบขาด้านนอกจากตาตุ่มนอกจนถึงเข่า 36 ครั้ง สามารถทำกับขาได้ทั้ง 2
ข้าง
5.เห็ดสามอย่าง เห็ดสามอย่างมีสรรพคุณในการล้างสารพิษในร่างกาย การที่ร่างกายเกิดตับแข็งทำให้ไม่สามารถขับสารพิษออกจากร่างกายได้ การทานเห็ดสามอย่างจึงสามารถช่วยแบ่งเบาภาระตับในการขจัดพิษทำให้ตับไม่จำเป็นต้องทำงานหนักมากขึ้น
6.นำเก๋ากี๋10กรัม เก๊กฮวย 3-4ดอก ชงเป็นชาดื่มช่วยบำรุงตับและตา
7.เม็ดบัว ในเม็ดบัวจัดว่ามีสารอาหารค่อนข้างสูงมีวิตามินเอ วิตามินซี และอื่น ๆ มีสรรพคุณช่วยบำรุงถุงน้ำดี บำรุงหัวใจ
|
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.ระมัดระวังอาหารจำพวกไขมัน ควรกินให้น้อยลงกว่าปกติเนื่องจากตับย่อยไขมันได้น้อยลง หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ ให้ใช้ไขมันพืชแทน
2.ทานอาหารให้ครบหมู่และหลากหลาย
3.ลดการกินอาหารแปรรูป พวกไส้กรอก หมูยอ เป็นต้น เพราะอาหารจำพวกนี้จะมีการเติมสารโซเดียม
4.ต้องเลิกดื่มเหล้า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม โดยเด็ดขาด
5.หลีกเลี่ยงการซื้อยามาทานเอง หรือทานยาเกินขนาด
6.ต้องไม่ดื่มน้ำมากเกินไป คือไม่เกิน 6 แก้วต่อวัน หรือหากมีอาการบวมมาก ควรลดปริมาณน้ำลงอีก
7.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ เช่น วิ่งมาราธอน กีฬาที่ต้องหักโหม ให้เดินวิ่งเบา ๆ แทน และพยายามทำจิตใจให้เบิกบาน
8.ควนรอนหลับให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึก |
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ |
|
|
|