|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรคกระดูกคอ ปวดตึงต้นคอ
|
กระดูกคอคืออะไร ?? กระดูกคอ หรือกระดูกต้นคอเป็นกระดูกที่มีหน้าที่รองรับน้ำหนักศีรษะทั้งหมด มีหน้าที่เชื่อมระหว่างศีรษะ และลำตัว มีความพิเศษคือมีความยืดหยุ่นกว่ากระดูกส่วนอื่น เพื่อทำให้สามารถหันคอไปได้โดยรอบตามทิศทางต่าง ๆ ได้โดยอิสระ นอกจากนี้ในกระดูกคอจะมีไขประสาทที่มีหน้าที่เชื่อมประสาทความรู้สึก รวมถึงการสั่งการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ จากระบบสมอง ดังนั้นกระดูกคอจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญมากในแง่ของการควบคุมระบบสั่งการ และระบบเคลื่อนไหว การที่กระดูกคอมีปัญหา เช่น กระดูกคอเสื่อม กระดูกคอกดทับ กระดูกคอเคลื่อน หรืออื่น ๆ ย่อมนำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตอย่างแน่นอน
|
|
|
ในปัจจุบันโรคเกี่ยวกับกระดูกคอ เช่นกระดูกคอเสื่อม ปวดกระดูกคอ หมอนรองกระดูกคอเสื่อม กระดูกคอเคลื่อน และอาการอื่น ๆ เกี่ยวกับกระดูกคอ จัดเป็นอาการที่ผู้ป่วยมีแนวโน้มอายุน้อยลงเรื่อย ๆ จากเดิมที่ผู้ป่วยจะอยู่ในช่วงวัยกลางคนขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มมีผู้ป่วยที่มีอายุในช่วงวัยรุ่นมากขึ้น โดยมากจะเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โทรศัพท์มือถือ การอ่านหนังสือ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องก้มคอเป็นระยะเวลานาน เป็นผลให้กระดูกคอเกิดการเบี้ยว คด ทับเส้นประสาท หรืออื่น ๆ จนทำให้เกิดอาการปวด เมื่อย คอ หากเป็นมากอาจมีอาการปวด ชา ลงแขน ซึ่งทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างลำบาก หากเป็นมากในผู้ป่วยบางรายอาจทำให้ขยับคอไม่ได้ หรือเกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
|
|
|
สาเหตุของโรคกระดูกคอ
1.เกิดจากอายุที่มากขึ้น โดยทั่วไปเมื่อคนเราอายุมากขึ้นร่างกายย่อมเกิดภาวะของความเสื่อมที่มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุเมื่อมีอายุตั้งแต่ 40 ปี ถือว่าร่างกายเข้าสู่ภาวะแห่งความเสื่อมอย่างเป็นทางการ ซึ่งผลจากความเสื่อมนี้อาจทำให้กระดูกโดยเฉพาะกระดูกคอเกิดความเสื่อมได้
2.เกิดจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง อิริยาบทในชีวิตประจำวันที่ทำเป็นประจำ เช่น การนั่ง หรือยืนเป็นเวลานาน การนั่งหลังค่อม การนอนหมอนสูง หรือเตี้ยเกินไป หรือการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ในระยะยาวจะทำให้เกิดอาการกระดูกคอเสื่อมได้
3.เกิดจากการเคลื่อนไหว ในบางครั้งอาการกระดูกคอเสื่อมจะเกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างเร็ว เช่น การหมุนคออย่างรวดเร็ว หรือการเล่นกีฬาที่รุนแรง เช่น มวย กีฬาต่อสู้ และอื่น ๆ
4.เกิดจากภาวะเครียด เนื่องจากภาวะเครียด และความคิดด้านลบต่าง ๆ จะทำให้ต้นคอเกิดการเกร็งแข็งตึงได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดภาวะกระดูกคอได้ง่ายขึ้น
|
|
|
อาการของโรคกระดูกคอ
อาการของโรคกระดูกคอมีหลายระดับ เบื้องต้นจะเริ่มจากการปวดเมื่อยบริเวณต้นคอในบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อคอแข็งเกร็งร่วมด้วย ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณท้ายทอย หรือหลังได้ ในบางครั้งอาการอาจเกิดอย่างรวดเร็ว เฉียบพลันจะเรียกอาการนี้ว่าอาการตกหมอน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหันคอไม่ได้ ในบางรายที่มีอาการมากอาจมีอาการปวดร้าวขาลงแขน หรือมีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัวได้
อาการกระดูกคอ เป็นอาการที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะในระยะยาว อาจเกิดโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท หรือกล้ามคอเนื้อหนีบเส้นประสาท หรืออาการอื่น ๆ เกี่ยวกับคอได้
|
|
|
สาเหตุของโรคกระดูกคอในทรรศนะแพทย์แผนจีน
การแพทย์แผนจีนได้จัดโรคกระดูกคอให้อยู่ในโรคปวด และชาเนื่องจากเส้นลมปราณติดขัด bizheng(痹症) ทำให้การไหลเวียนของเลือดเกิดการติดขัด เคลื่อนที่ได้ช้าลง
1.สาเหตจากภายนอกได้แก่ ลม ความเย็น ความชื้น ทำให้เส้นลมปราณอุดกั้น การไหลเวียนของเลือดและลมปราณติดขัด เกิดภาวะเลือดคั่ง มีความร้อนสะสมและเสมหะตกค้าง
- ลม ทำเกิดข้อที่แปรเปลี่ยน
- ความเย็น ทำให้เกิดการอุดกั้นของลมปราณและเลือด ทำให้เกิดอาการปวดมาก ข้อต่อเอ็นหดรั้ง เคลื่อนไหวลำบาก
-ความชื้น ทำให้เกิดอาการหนัก หนืด ติด แน่น เฉื่อยชา บวม ตึง ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวินิจฉัยโรคของการแพทย์จีน"ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด"
2.ความพร่องของตับและไต สารจิงและเลือดไม่พอ การทำงานของตับบกพร่องส่งผลต่อเส้นเอ็น ไตบกพร่องส่งผลต่อกระดูกต่างๆ ซึ่งปกติเอ็นและกระดูกได้รับการหล่อเลี้ยงจากเลือดและหยางชี่ของตับและไต
3.การเสียสมดุลของอารมณ์ทั้งเจ็ด อารมณ์โกรธ คิดมาก กังวล ส่งผลทำให้การไหลเวียนของลมปราณติดขัด
|
|
|
การวิเคราะห์แยกประเภทกลุ่มอาการ
1.การกระทบจากลม และความเย็นจากภายนอก
อาการทางคลินิก : ทำให้เกิดอาการข้อฝืด หรือปวดของคอ ไหล่ หรือแขน โดยแขนและมืออาจรู้สึกเย็น ชา หรือหนัก โดยเฉพาะเมื่ออาการเย็น หรือลมพัด จะทำให้อาการปวดรุนแรงยิ่งขึ้น
ลักษณะลิ้น : ลิ้น พบบางและขาว
ลักษณะชีพจร : ชีพจร ลอยและตึง (Fu Jin Mai 浮紧脉)
2. การอุดตันของชี่ และเลือด
อาการทางคลินิก : เกิดอาการปวดตึงหรือแปล๊บ ๆ บริเวณคอ ไหล่หรือแขน รวมทั้งอาจมีปวดบวมร้าวไปแขน ร่วมกับมึนงง ปวดศีรษะ
ลักษณะลิ้น : ลิ้น บางและขาว ลิ้นหนา
ลักษณะชีพจร : ชีพจร ไม่สม่ำเสมอ ลึก บาง (Chen Jie Dai Mai 沉结代脉 )
|
|
|
การบำบัดรักษาทางแพทย์แผนจีน
1.การทานยาสมุนไพรจีน ปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้าง ตามแต่ละกลุ่มอาการ
- อาการโรคกระดูกคอที่เกิดจากการกระทบจากลม และความเย็นจากภายนอก ทำการให้ยาที่มีสรรพคุณ ขับพิษเย็น เพิ่มการหมุนเวียน ลดผลกระทบจากความเย็นภายนอก แก้อาการปวดคอ
2.การฝังเข็มตามแต่ละกลุ่มอาการ
- อาการโรคกระดูกคอที่เกิดจากการอุดตันของชี่ และเลือด ใช้การฝังเข็มที่มีสรรพคุณ เพิ่มการหมุนเวียนของชี่ และเลือด แก้อาการปวดคอ
หลักการรักษาในทางแพทย์แผนจีน
- ใช้หลักการขจัดเหตุก่อโรค คือการขจัดพิษลมเย็น ระบายชื้น ขจัดความร้อน กระตุ้นการไหลเวียนของลมปราณและเลือด
- บำรุงตับ ไต เสริมม้าม เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ขจัดความชื้นเสมหะ
- ทะลวงหลอดเลือด และเส้นลมปราณบริเวณคอ สลายเลือดคั่ง เพื่อให้กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูกคอได้รับการหล่อเลี้ยงเลือดมากขึ้น
|
|
|
การบริหารร่างกายแก้อาการโรคกระดูกคอ
1.ก้มและเงยหน้าค่อยๆก้มหน้าให้คางจรดกับอกแล้วเงยช้าๆให้มากที่สุด ทำ 5 ถึง 10 ครั้งวันละ 2-3 เวลา
2.ตะแคงซ้ายขวาหน้าตรงค่อยๆตะแคงซ้ายจนหูจรดไหล่ แล้วตะแคงขวาในลักษณะเดียวกัน ทำท่า 5 ถึง 10 ครั้งวันละ 2-3 เวลา
3.หันหน้าซ้ายขวา หมุนศีรษะหันหน้าไปทางซ้ายช้าๆโดยให้ปลายคางอยู่ในแนวเดียวกับไหล่แล้วหมุนกลับมาด้านขวา ทำท่านี้5-10ครั้ง วันละ2-3เวลา |
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.ควรงดอาหารมัน ทอด ปิ้ง ย่าง
2.ไม่ควรนอนดึก ไม่ควรนอนเกิน 5 ทุ่ม และควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
3.ควรงดน้ำเย็น
4.ควรดื่มน้ำอุณหภูมิห้องวันละ 3 ลิตรโดยใช้การจิบทุก ๆ 10 นาที
5.ควรทานอาหารประเภทแคลเซียมจากธรรมชาติ เช่น งาดำ ลูกเดือย
6.ควรทานอาหารประเภทแมกนีเซียมจากธรรมชาติ เช่น เมล็ดฟักทอง กล้วย
7.ไม่ควรก้ม หรือเงยคอมากและนานเกินไป เช่น การทำงานใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
8.ขณะทำงานไม่ควรนั่งนานเกิน 40 นาที ควรลุกขึ้นยืนพัก หรือเปลี่ยนท่าเพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดการยึดเกร็ง
|
|
|
|