|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อาการท้องเสีย
|
อาการท้องเสีย จัดเป็นอาการที่สร้างความลำบาก และความอึดอัดให้กับผู้ที่มีอาการนี้ ทุกท่านลองจินตนาการการที่เราต้องเดินทางไกล ๆ หรือมีประชุม หรือมีการสอบ แต่ในตอนนั้นท่านมีอาการท้องเสียท่านคงเป็นกังวลแน่นอนว่าจะมีอาการปวดท้องระหว่างกิจกรรมหรือไม่ และยังต้องกังวลว่าถ้าเกิดอาการท้องเสียจะสามารถหาห้องน้ำได้ทันท่วงทีหรือไม่ ดังนั้นอาการท้องเสียจึงเป็นอาการที่หากเป็นแล้วย่อมเกิดความลำบากในการใช้ชีวิตเป็นอย่างยิ่ง
อาการท้องเสีย เป็นอาการที่ร่างกายถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง ลักษณะอุจจาระมักจะมีลักษณะเหลวเป็นมูก หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจถ่ายเป็นอาหารที่ไม่ย่อยออกมา ทั้งนี้อาการท้องเสียจัดเป็นอาการที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและแร่ธาตุเป็นจำนวนมาก จึงเป็นอาการที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง |
|
|
สาเหตุและกลไกการเกิดโรค
1.เกิดจากเสียชี่จากภายนอกมากระทำต่อม้ามหรือลำไส้ ในทางแพทย์แผนจีนเสียชี่ (ปัจจัยทำให้เกิดโรค) จัดว่าเป็นสาเหตุหลักของอาการท้องเสีย เมื่อเสียชี่เกิดการกระทบม้าม หรือลำไส้ ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องทำการขับเสียชี่ออกซึ่งอาจเป็นผลให้เกิดอาการท้องเสียเพื่อทำการขับเสียชี่ดังกล่าวออกมา
2.เกิดจากการทานอาหาร หรือน้ำไม่สะอาด มีผลให้กระเพาะอาหารได้รับเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกายซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
3.การทานรสชาติอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น ทานอาหารรสเผ็ดเกินไป หวานเกินไป มันเกินไป เย็นเกินไป เป็นต้น ซึ่งการทานรสชาติเหล่านี้ส่งผลให้ม้ามอ่อนแอ และมีผลต่อลำไส้ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
4.เกิดจากการป่วยเรื้อรัง ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังมานานทำให้ หยางชี่ในม้ามกับกระเพาะอาหารอ่อนแอเป็นผลให้เกิดอาการท้องเสียได้
5.เกิดจากการใช้ยาบางชนิด ซึ่งในยาบางชนิดมีผลให้ม้าม กระเพาะอาหารอ่อนแอ ซึ่งการที่ม้ามกระเพาะอาหารอ่อนแอจะเป็นผลให้ร่างกายเกิดอาการท้องเสียได้
6.สาเหตุอื่น ๆ เช่น เกิดจากสาเหตุม้ามพร่องก่อนแล้วมีถานอิ่น(เสมหะ) มากระทบม้ามจนทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือเกิดจากมีเลือดคั่งเป็นเหตุให้ท้องเสีย
|
|
|
ลักษณะอาการของโรค
1.ปวดช่วงท้อง มีอาการปวดมวนในช่องท้องคล้ายอาการโรคบิด ในบางรายอาจปวดมากจนไม่สามารถขยับตัวได้ หรือขยับตัวไม่สะดวก
2.ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายอุจจาระเป็นถ่ายน้ำ ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการถ่ายเหลวเป็นมูก หรือถ่ายเป็นน้ำ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจถ่ายจนหมดแรง และร่างกายขาดน้ำได้
3.มีอาการความร้อนสูง หรือไข้ขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตัวร้อน ไข้ขึ้นร่วมกับอาการท้องเสียด้วย
4.ทานอาหาร หรือน้ำแล้วถ่ายทันที ในผู้ป่วยบางรายที่อาการหนักอาจจะมีอาการถ่ายทันทีที่ทานอาหาร หรือดื่มน้ำ ซึ่งในกรณีนี้ควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน
5.คลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากอาการท้องเสียจะเป็นอาการที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร และลำไส้โดยตรง ในผู้ป่วยบางรายจึงอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
6.ถ่ายเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ หากผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย มีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือเลือดออกในลำไส้ร่วมด้วย ในบางครั้งการถ่ายอุจจาระอาจมีอุจจาระสีดำ หรือมีเลือดออกมาด้วย
|
|
|
การจำแนกกลุ่มเพื่อการรักษา
1.ท้องเสียจากความเย็นชื้น (寒湿内盛证)
อาการทางคลินิก : มีอาการของกลุ่มความเย็นชื้น ลักษณะอุจจาระมักจะใสหรือเป็นน้ำ มีอาการปวดท้อง มีเสียงของลำไส้ดังออกมา รู้สึกแน่นท้อง มีกลุ่มอาการของลมเย็นภายนอก คือกลัวหนาวมากกว่ากลัวร้อน ไม่มีเหงื่อ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
กลไกการเกิดโรค : เมื่อความเย็นชื้นเกิดขึ้นภายในร่างกายจะส่งผลต่อม้ามทำให้ไม่สามารถแยกแยะอาหารที่ดีและไม่ดีออกจากกันจึงทำให้เกิดท้องเสีย
2.ท้องเสียจากความร้อนชื้น(湿热伤中证)
อาการทางคลินิก : มีกลุ่มอาการของความร้อนชื้น อุจจาระสีเหลืองน้ำตาล มักจะปวดท้องถ่ายไม่สุดหรือถ่ายไม่คล่อง เมื่อถ่ายทวารหนักรู้สึกแสบร้อน มีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะสีเข้ม
ลักษณะลิ้น : ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองเหนียว
ลักษณะชีพจร : ชีพจรนุ่มเร็ว
กลไกการเกิดโรค : มีความร้อนชื้นไปขัดขวางการทำหน้าที่ของม้าม ทำให้การแปรสภาพอาการ และเกิดลำเลียงอาหารที่ผิดปกติได้ จึงทำให้ท้องเสีย
3.ท้องเสียจากอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ (食滞肠胃证)
อาการทางคลินิก : อุจจาระที่ถ่ายออกมาเหม็นบูด มักจะมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย
ลักษณะลิ้น : ลิ้นมีฝ้าหนาเหนียว
ลักษณะชีพจร : ชีพจรลื่นมีแรง
กลไกการเกิดโรค : เมื่อมีอาหารตกค้างจะไปขัดขวางหน้าที่ของกระเพาะอาหาร และลำไส้ ทำให้การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
4.ม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ (脾胃虚弱证)
อาการทางคลินิก : มีอาการถ่ายท้อง ถ้ารับประทานอาหารไม่ระวังจะมีอาการท้องเสีย และอาการจะกำเริบถ้าเหน็ดเหนื่อยเกินไป นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาการม้ามพร่อง เช่น สีหน้าอมเหลือง อ่อนเพลียไม่มีแรง รับประทานอาหารได้น้อย รับประทานอาหารแล้วท้องอืด
ลักษณะลิ้น : ลิ้นซีด ฝ้าขาว
ลักษณะชีพจร : ชีพจรละเอียดอ่อนแรง
กลไกการเกิดโรค : เมื่อม้ามพร่อง การลำเลียงสารอาหารจะผิดปกติ ทำให้การดูดซึมกลับของสารอาหารเกิดความผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถแยกแยะสารอาหารดี และสารอาหารไม่ดี
5.ไตหยางพร่อง (肾阳虚衰证)
อาการทางคลินิก : มักปวดท้องถ่ายตอนเช้ามืด ถ่ายแล้วอาการปวดท้องจะหายไป อุจจาระที่ถ่ายอาจจะเป็นน้ำหรืออาหารที่ไม่ย่อย และจะมีกลุ่มอาการไตหยางพร่อง เช่น เมื่อยเอวเข่าอ่อน ตัวเย็น ขี้หนาว
ลักษณะลิ้น : ลิ้นซีด
ลักษณะชีพจร : ชีพจรจมละเอียด
กลไกการเกิดโรค : ไตหยางพร่อง เกิดความเย็นชื้น มีผลต่อการแปรสภาพของหยางม้าม เกิดความชื้นสะสมแล้วทำให้ถ่าย
6.ตับแกร่งข่มม้ามทำให้ท้องเสีย (肝气乘脾证)
อาการทางคลินิก : ท้องเสียมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ที่แปรเปลี่ยน มีอาการปวดท้อง มีเสียงของลำไส้ดังเหมือนฟ้าร้อง มีอาการของตับแกร่ง เช่น ปวดท้องเสียดชายโครง เรอ ผายลมบ่อย
ลักษณะลิ้น : ลิ้นมีฝ้าขาว
ลักษณะชีพจร : ชีพจรตึง
กลไกการเกิดโรค : เมื่อชี่ตับติดขัด จะข่มม้ามให้อ่อนแอ การแปรสภาพอาหาร และการลำเลียงอาหารเกิดความผิดปกติ |
|
|
การบำบัดรักษาทางแพทย์แผนจีน
1.ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละอาการ เช่น
- อาการท้องเสียตามกลุ่มอาการเกิดจากความเย็นชื้น ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ สลายความเย็น ขจัดความชื้น อบอุ่นม้ามกระเพาะ แก้อาการท้องเสีย
- อาการท้องเสียตามกลุ่มอาการเกิดจากความร้อนชื้น ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ ขจัดความร้อน ระบายความชื้น ปรับสมดุลม้ามกระเพาะ แก้อาการท้องเสีย
- อาการท้องเสียตามกลุ่มอาการเกิดจากอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ บำรุงม้ามกระเพาะ ช่วยย่อย ขจัดอาหารตกค้าง แก้อาการท้องเสีย
2ฝังเข็มตามกลุ่มอาการ ทำการฝังเข็มปรับสมดุลร่างกายตามแต่ละกลุ่มอาการ เช่น
- อาการท้องเสียตามกลุ่มอาการม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ เสริมบำรุงชี่และม้ามให้แข็งแรง สลายความชื้น แก้ท้องเสีย
- อาการท้องเสียตามกลุ่มอาการไตหยางพร่อง ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ อุ่นบำรุงไตหยาง เสริมม้ามให้แข็งแรง แก้อาการท้องเสีย
- อาการท้องเสียตามกลุ่มอาการตับแกร่งข่มม้ามทำให้ท้องเสีย ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ สงบตับ เสริมบำรุงม้าม แก้อาการท้องเสีย
|
|
|
สมุนไพรบรรเทาอาการท้องเสีย
1.กล้วยน้ำว้า นำกล้วยน้ำว้าห่าม คือกล้วยน้ำว้าเป็นสีเขียวปนเหลือง มีรสชาติฝาด ซึ่งในกล้วยน้ำว้ามีสารโปรแอนโทรไซยานิน หรืออีกชื่อคือสารแทนนิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อโรค การทานกล้วยน้ำว้าห่าม 1 - 2 ลูก จึงช่วยในการบรรเทาอาการท้องเสีย
วิธีรับประทาน ทานสด 1 - 2 ลูก หรือ ทำมาตากแดดแล้วชงเป็ชาดื่มแทนน้ำ
2.ขมิ้นชัน พืชสมุนไพรสีเหลืองเข้มจัดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นสารยับยั้งแบคทีเรียตามธรรมชาติสามารถ จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ นอกจากนี้ขมิ้นชันยังข่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน อีกด้วย
วิธีรับประทาน ทานสดครั้งละ 1 ชิ้นขนาดเท่านิ้วก้อย หรือตากแห้งชงน้ำทานเป็นชา
3.ชาจีน ในใบชามีสารแทนนินเป็นจำนวนมาก ซึ่งสารแทนนินช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ยับยั้งแบคทีเรีย จึงทำให้การทานชาจีนจึงช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้
วิธีรับประทาน นำชาจีนชงกับน้ำร้อน โดยชงให้มีความเข้มกว่าปกติ
|
|

|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.ควรทานอาหารอ่อน เช่น น้ำข้าวต้ม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร แต่ไม่ควรทานมากเกินไป
2.งดทานอาหารหนัก ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์
3.ควรทานน้ำผสมเกลือ หรือน้ำผสมผงน้ำตาลเกลือแร่ (ผงเกลือแร่ ORS) เพื่อชดเชยการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกาย ควรทานโดยการจิบเรื่อย ๆ
4.นอนพักผ่อนเพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รักษาฟื้นฟูร่างกาย
หมายเหตุ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับการออกกำลังกายเพื่อชดเชยเกลือแร่ในร่างกาย เพราะเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับการออกกำลังกายมีกลูโคสในปริมาณมากอาจทำให้อาการท้องเสียเป็นมากขึ้น |
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ |
|
|
|