|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
Carpal Tunnel Syndrome : CTS

|
มือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ การทำงานต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันก็จำเป็นต้องใช้มือเป็นอย่างมาก
คงลำบากไม่น้อยหากมือของเราไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ หรือเคลื่อนไหวได้ไม่คล่อง ท่านผู้อ่านลองจินตนาการดูครับว่าถ้าหากให้ผู้อ่านใช้ชีวิตประจำวันโดยที่ไม่ใช้มือเลยการใช้ชีวิตประจำวันคงเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง
อาการเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ เป็นอาการที่เกิดจากการที่เส้นประสาทบริเวณข้อมือเกิดการอักเสบ โดยมากเกิดจากการที่เส้นประสาทบริเวณดังกล่าวโดนกดทับทำให้ การขยับข้อมือเกิดการติดขัด หรือเกิดการปวด ในบางรายที่เป็นมาก อาจเกิดอาการปวดไปยังนิ้วโป้ง หรือนิ้วอื่น ๆ ได้ |
|
|
สาเหตุการเกิดโรค
อาการนี้โดยมากมักจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 30 ปีเป็นขึ้นไป ยิ่งอายุมากขึ้นก็มีโอกาสเป็นได้มากขึ้น และจะพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชาย สาเหตุเกิดจากการใช้ข้อมือซ้ำ ๆ บ่อย ๆ หรือเกิดจากการเกร็งข้อมือบ่อยครั้ง หรือเกร็งข้อมือเป็นเวลานาน ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณข้อมือเกิดการติดขัด จนทำให้ความดันในโพรงข้อมือเพิ่มขึ้น (Carpal tunnel) ซึ่งในโพรงข้อมือมีเส้นประสาท เส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วและฝ่ามือ เมื่อมีการอักเสบในบริเวณโพรงข้อมือจะมีผลให้การเคลื่อนไหวมือ และนิ้วเกิดการติดขัด เคลื่อนไหวลำบาก
โดยมากมักจะเกิดจากในอาชีพที่ใช้มือ หรือข้อมือมาก ๆ เช่น อาชีพขับรถ เขียนหนังสือ นักเทนนิส นักกอล์ฟ นักดนตรี ผู้ใช้คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และอื่น ๆ ซึ่งผู้ที่ทำอาชีพเหล่านี้มักจะใช้ข้อมือเป็นเวลานาน นอกจากนี้อาจเกิดจากการแทรกซ้อนของอาการต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เกาต์ รูมาตอยด์ และอื่น ๆ |
|
|
ลักษณะอาการของโรค
1.มีอาการปวดบริเวณข้อมือ ผู้ที่มีอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ มักจะมีอาการปวดข้อมือร่วมด้วยเพราะอาการอักเสบที่ข้อมือจะทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ
2.มีอาการชานิ้ว หากมีอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เป็นเวลานานจะทำให้การไหลเวียนของเลือดติดขัด และเกิดการกดทับจนเป็นเหตุให้เกิดอาการชานิ้ว ชามือได้
3.มือไม่มีแรง ในผู้ป่วยอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โดยมากเมื่อเกิดอาการนานวันจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณมือเกิดการไหลเวียนของเลือดลมติดขัดทำให้กล้ามเนื้อของมือ นิ้ว ไม่มีแรงได้
4.กล้ามเนื้อลีบฝ่อ จากปัจจัยดังกล่าวตามข้อ 1 - 3 เป็นผลให้กล้ามเนื้อลีบเกร็งได้
|
|
|
โรคภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือในศาสตร์การแพทย์แผนจีน
แพทย์แผนจีนจัดกลุ่มอาการดังกล่าวอยู่ในกลุ่มปี้เจิ้ง บริเวณข้อมือ หรือเรียกว่า จินปี้ (JinBi)เป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ
ซึ่งสาเหตุอาจเกิดโดยฉับพลัน หรือเกิดจากการใช้งานที่หักโหมทำให้เกิดอาการบาดเจ็บสะสมเรื้อรังกดทับจนทำให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อได้รับความเสียหาย จนก่อให้เกิดเลือดคั่งอุดกั้น และอาจได้รับความเย็น ความชื้น มากระทบเส้นเอ็น จึงทำให้ชี่และเลือดเกิดการติดขัดไหลเวียนไม่สะดวกจนทำให้เส้นเอ็นหลอดเลือดขาดการหล่อเลี้ยงจึงทำให้เกิดอาการปวดชามากขึ้น
|
|
|
การบำบัดรักษาทางแพทย์แผนจีน
1.การทานยาสมุนไพรจีนที่ผ่านกระบวนการผลิตปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง
2.การฝังเข็มตามแต่ละกลุ่มอาการ เพื่อปรับสมดุลร่างกายตามกลุ่มอาการ โดยกระตุ้นให้เส้นเอ็นทำงานคล่อง ทะลวงเส้นลมปราณให้ไหลเวียนดี สลายเลือดคั่ง ลดบวมระงับปวด
3.การนวดทุยหน่า เพื่อคลายกล้ามเนื้อ และพังผืดบริเวณที่มีปัญหา เพิ่มการหมุนเวียน
4.การรมยาบริเวณที่ปวด เพื่อคลายกล้ามเนื้อ ทะลวงเส้นลมปราณ ลดอาการปวด
5.บริหารข้อมือ โดยการทำฝ่ามือให้ตั้งฉากกับแขนพร้อมออกแรงดึงฝ่ามือเข้ามาหาตัว โดยทำทั้งหงายมือและคว่ำมือ หรืออาจใช้การดันฝ่ามือกับพื้นแทนได้ |
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.ไม่ควรใช้ข้อมือนานเกินไป หากจำเป็นต้องใช้นาน ควรมีการพักการใช้ข้อมือเป็นระยะ
2.นำมือแช่น้ำอุ่น 10 - 15 นาที โดยแช่น้ำให้ถึงข้อมือ แล้วทำการนวดคลึงมือเพื่อเพิ่มการไหลเวียน
3.ให้ทำการนวดคลึงมือ และข้อมือทุกวัน
4.ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 3 ลิตร โดยใช้การจิบเรื่อย ๆ ทั้งวัน
5.ไม่ควรนอนดึก ควรนอนระหว่าง 23.00 - 06.00 น. |
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ |
|
|
|