|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความดันโลหิตสูง ( Hypertension )
|
ภาวะความดันโลหิตสูง คือ ความผิดปกติของความดันเลือดในหลอดเลือดแดงเพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอย่างหนึ่งในการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และไตวายเรื้อรัง สาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิดสูงมีหลากหลายปัจจัยผสมผสานกันได้แก่ พันธุกรรม พฤติกรรมการดำเนินชีวิต บริโภคนิสัย สภาพแวดล้อมทางสังคม สภาพอารมณ์และจิตใจ ตลอดจนโรคหรือพื้นฐานสุขภาพของแต่ละบุคคล
จากการศึกษาพบว่า การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สามารถป้องกันการเกิดโรคอันเป็นผลแทรกซ้อนจากภาวะความดันโลหิตสูงได้ ตลอดจนสามารถลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแล้ว ช่วยลดความพิการ ลดอัตราการเสียชีวิต และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น |
|
|
ความดันโลหิตสูง ( Hypertension ) หมายถึง ระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มม.ปรอท (mmHG) ซึ่งเป็นระดับความดันโลหิตค่าบน (ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว) หรือค่าล่าง(ความดันโลหิตขณะคลายตัว) ค่าใดค่าหนึ่ง
ความดันโลหิตสูงเฉพาะค่าบน (Isolated systolic hypertension) หมายถึง ระดับความดันโลหิตค่าบนมากกว่าหรือเท่ากับ 140 มม.ปรอท แต่ระดับความดันโลหิตค่าล่างต่ำกว่า 90 มม.ปรอท
การวินิจฉัยอาการความดันโลหิตสูงและระดับความรุนแรงของโรค อาศัยระดับความดันโลหิตทั้งค่าบนหรือค่าล่าง หรือค่าใดค่าหนึ่ง หรือทั้งสองค่ารวมกัน |
|
|
การจำแนกกลุ่มเพื่อตามทฤษฏีแพทย์แผนจีน
1.ไฟตับแกร่ง อาการ มีอาการปวดศีรษะ มึนงง หน้าแดง ตาแดง ลิ้นขม หงุดหงิดง่าย ท้องผูก
ลักษณะลิ้น ลิ้นแดง มีฝ้าเหลือง
ลักษณะชีพจร ชีพจรตึง - เร็ว (Xian-ShuMai)
2.เสมหะข้นสะสม อาการ มึนงง ปวดศีรษะแบบรู้สึกพอง ๆ แน่นหน้าอกและลิ้นปี่ เบื่ออาหาร รู้สึกหนักแขนขา
ลักษณะลิ้น ฝ้า ขาว เหนียว
ลักษณะชีพจร ชีพจรตึง - ลื่น (Xian-HuaMai)
3.หยางแกร่งร่วมกับอินพร่อง
อาการ ความดันโลหิตสูง มึนงง ปวดศีรษะ เสียงอู้ในหู หงุดหงิด นอนไม่หลับ เอวและเข่ามีอาการปวดและอ่อนแรง แขนขามีอาการชาหรือสั่น
ลักษณะลิ้น ลิ้นแดง ฝ้าขาว
ลักษณะชีพจร ชีพจรเล็ก - ตึง (Chen-XianMai)
4.อินและหยางพร่อง
อาการความดันโลหิตสูง มึนงง ตามัว ใจสั่น เสียงอื้อในหู นอนไม่หลับ เอวและเข่ามีอาการปวดและอ่อนแรง ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
ลักษณะลิ้น ลิ้นแดง ฝ้าบาง
ลักษณะชีพจร ชีพจรจม - เล็ก (Chen-XiMai) |
|
|
การบำบัดรักษาทางแพทย์แผนจีน
1.ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละกลุ่มอาการ เช่น ความดันโลหิตสูงจากอาการไฟตับแกร่ง ให้ยาสมุนไพรผ่อนคลายระบบตับระบายไฟ
2.ฝังเข็มตามกลุ่มอาการ เช่นฝังจุดไท่ชง จุดไป๋ฮุ่ย จุดซานอินเจียว จุดเหอกู่ เป็นต้น
3.การนวดกดจุด กัวซา ตามจุดฝังเข็ม
|
|
|
สมุนไพร และการกดจุดบรรเทาอาการความดันโลหิตด้วยตนเอง
1.ขึ้นฉ่าย นำผักขึ้นฉ่ายทานสดวันละ 4 - 5 ต้น เพราะผักขึ้นฉ่ายอุดมไปด้วยโพแทสเซียมซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต นอกจากนี้ขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์ ขับปัสสาวะ ลดบวม ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมัน
2.ใบบัวบก ให้นำใบบัวบก 100 กรัมทานสดหรือคั้นน้ำ เนื่องจากใบบัวบกมีฤทธิ์ทำให้การไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอยดีขึ้น
3.นวดกดจุดไท่ชง ตำแหน่งอยู่ตรงง่ามระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ของนิ้วเท้าขึ้นมา 1 นิ้ว สามารถกดได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เพื่อลดความดัน ลดความและระบายไฟในตับ
4.กดจุดชวีฉือ จุดนี้ให้เรางอข้อศอกเป็นมุม 90 องศา จุดจะอยู่กึ่งกลางระหว่างรอยพับข้อศอกกับกระดูกข้อศอก ออกแรงกดแล้วคลายแล้วค่อยๆเพิ่มแรงกด ทำติดต่อประมาณ5-10นาที |
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.งดทานอาหาร ทอด มัน ปิ้ง ย่าง และควรงดอาหารรสเค็ม
2.ทานน้ำอุ่นให้มาก
3.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
4.ทานสมุนไพร และนวดกดจุดตามหัวข้อข้างต้น
5.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ความดันโลหิตสูงเป็นทางแพทย์แผนจีนถือว่าเป็นโรคเกิดจากการบกพร่องของระบบการทำงานของร่างกาย ดังนั้นในแพทย์แผนจีนจึงเน้นการบำรุงในจุดที่มีปัญหาหรือบกพร่องให้กลับมาทำงานปกติ ร่วมกับผู้ป่วยดูแลรักษาร่างกายตามคำแนะนำของแพทย์การรักษาจะเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ และดีขึ้นอย่างยั่งยืน
|
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ
|
|
|
|