|
气 (ชี่รูปแบบพลังงานต่างๆ) |
|
|
|
|
|
ในการเจริญเติบโตของร่างกายในทางการแพทย์แผนจีน พลังชี่มีส่วนสำคัญ ทั้งเป็นส่วนเสริมต้นทุนในการผลักดันการหมุนเวียนของร่างกายไม่ว่าจะเป็นระบบไหลเวียนโลหิต ระบบน้ำเหลือง สารอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆ ให้หล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นพลังชี่จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันแนวทางการเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์ในลักษณะต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ในบุคคลผู้หนึ่งซึ่งมีสภาพร่างกายพื้นฐานที่แข็งแรงสมบูรณ์ การออกกำลังกายก็เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งแปรเปลี่ยนสารอาหารในร่างกายเป็นพลังงานชี่ในรูปแบบต่างๆ( 元气,中气,宗气,营气,卫气 ) โดยพลังงานชี่ที่ร่างกายสร้างขึ้นเป็นลักษณะของการเสริมสร้างการไหลเวียนของร่างกายบริเวณกล้ามเนื้อหรืออวัยวะในส่วนที่ได้รับการบริหารให้เติบโต และแข็งแรงสมบูรณ์ แต่หากเราพูดถึงในบุคคลที่มีสภาพร่างกายที่แตกต่างกัน โดยบุคคลผู้นี้มีพื้นฐานร่างกายชี่พร่อง บุคคลผู้นี้อาจจะมีร่างกายอ่อนแอมาตั้งแต่กำเนิด พักผ่อนไม่เพียงพอเป็นประจำ คิดมาก ขี้กังวล เครียดง่าย ไม่เจริญอาหาร ในการออกกำลังกายคนผู้นี้ไม่สามารถที่จะผลิตพลังงานชี่ออกมาได้เท่ากับบุคคลที่กล่าวในข้างต้น สาเหตุก็มาจากทั้งในการออกำลังกายอาจทำได้ไม่เต็มที่(พลังงานชี่ในร่างกายไม่เพียงพอมาแต่กำเนิด), การพักผ่อนไม่เพียงพอ(การพักผ่อนเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างชี่ให้สมบูรณ์), สารอาหารไม่เพียงพอ(สารอาหารเป็นต้นทุนสำคัญในการสร้างชี่), ภาวะของสภาพจิตใจ โดยผู้ที่มีความเครียด หรือมีความกังวลกับเรื่องต่างๆ ไม่อาจปล่อยวางปัญหาต่างๆลงได้ เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้สภาพจิตใจอ่อนแอจากการใช้พลังงานชี่อยู่ตลอดเวลา ,หรือผู้ที่มีสภาวะอารมณ์อ่อนไหว หรือแปรปรวนง่าย เป็นเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบตับและถุงน้ำดีในทางการแพทย์แผนจีน ซึ่งในภาวะรอบด้านของผู้ที่มีลักษณะเช่นนี้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการหดเกร็งของระบบเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ทำให้ขาดความสมบูรณ์ในการยืดหยุ่น และขาดการไหลเวียนในลักษณะของการผ่อนคลายของระบบตับ(肝疏泄) เป็นต้น |
|
|
|
|
|
เลือด(血) |
|
|
|
|
|
เป็นพื้นฐานสำคัญในการนำพา ออกซิเจน สารอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆไปเป็นต้นทุนสู่การเจริญเติบโตในส่วนต่างๆของร่างกาย สภาพจิตใจที่ดี โดยเฉพาะการผ่อนคลาย และการปล่อยวางที่ดี จะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานในทุกๆส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอยในบริเวณที่เป็นส่วนปลายของอวัยวะส่วนกล้ามเนื้อ, กระดูกและเส้นเอ็นให้มีการขยายตัว และยืดหยุ่น ส่งผลให้การเจริญเติบโตในบริเวณส่วนปลายของอวัยวะดังกล่าวเป็นไปอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น |
|
|
|
|
|
การออกกำลังกายในลักษณะของการยืดลำตัว |
|
|
|
|
|
ความสมบูรณ์แต่กำเนิด, กรรมพันธุ์, หรือความสมบูรณ์ของระบบไตในทางแพทย์แผนจีน (肾精,肾气,肾阴,肾阳) ความสมบูรณ์ของระบบไต ในทางแพทย์แผนจีนถือได้ว่าเป็นต้นทุนของความสมบูรณ์ของร่างกายในทุกๆด้านซึ่งมีมาตั้งแต่กำเนิด หากแต่ สามารถบำรุงเสริมเพิ่ม ในภายหลังได้เช่นกัน |
|
|
|
|
|
อารมณ์ ความเครียด ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของทั้งระบบตับ ม้าม ไต |
|
|
|
|
|
ระบบม้าม ความเครียดในทางการแพทย์แผนจีน จะส่งผลรบกวนโดยตรงต่อการทำงานของระบบม้าม ซึ่งม้ามในทางแพทย์แผนจีนถือเป็นทุนที่ 2 ของชีวิตรองจากไต รวมไปถึงยังเป็นแหล่งกำเนิด และเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของพลังงานชี่ ดังจะเห็นได้จากคนที่มีภาวะเครียดจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ และทำให้อ่อนเพลียอ่อนล้าในที่สุด เป็นต้น ระบบตับ ในทางแพทย์แผนจีนถือเป็นแหล่งรวบรวม กระจายและส่งต่อ ชี่และเลือด ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย โดยในการทำงานของระบบตับที่ดีนั้น แปรผันโดยตรงต่อการไหลเวียนของชี่และเลือดที่ดีซึ่งก็แปรผันโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของร่างกายที่ดีและสมบูรณ์เช่นกัน(疏肝贩松) ระบบไต ในทางแพทย์แผนจีนไตถือเป็นต้นทุนแรกของชีวิตตั้งแต่กำเนิด ความเครียดสามารถส่งผลเสียต่อระบบไตที่ดี ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตของ กระดูก, ไขกระดูก, ไขสมอง ขาดความสมบูรณ์ |
|
|
|
|
|
วิธีเพิ่มความสูงในเชิงวิทยาศาสตร์ |
|
|
|
|
|
1. เน้นการกระตุ้นต่อมพิทูริทารี่ (Pituitary Gland) ซึ่งเป็นต่อมที่ทำหน้าที่ผลิตโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยนำสารอาหารเข้าไปเสริมสร้างกระดูกอ่อนบริเวณข้อของกระดูกสันหลัง และกระดูกส่วนล่างของร่างกาย ให้สามารถขยายได้อย่างปลอดภัย ด้วยกลไกของร่างกายตามธรรมชาติ การกระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมนนี้ เราสามารถกระตุ้นให้สร้างขึ้นได้ตลอดช่วงอายุของเรา แม้ว่าร่างกายของเราจะหยุดสร้าง เมื่อเราอายุ 22 ปี แล้วก็ตาม ในทรรศนะของแพทย์แผนจีนการฝังเข็มเป็นการกระตุ้นต่อมพิทูริทารี่ได้ผลดี |
|
|
|
|
|
2. การเพิ่มความยาวของกระดูกสันหลัง (Spinal Column) ความสูงของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับความยาวของกระดูกสันหลังถึง 35 % โดยกระดูกสันหลังในส่วนที่ยังสามารถขยายได้นั้นจะมีอยู่ 3 ส่วน คือ |
|
|
|
|
|
ส่วนคอ (Cervical) : ประกอบด้วยกระดูก 7 ชิ้น
ส่วนหลังอก (Trorapic) : ประกอบด้วยกระดูก 12 ชิ้น
กระดูกด้านข้าง (Lumber) : ประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้นรวมเป็น 24 ชิ้น ซึ่งเป็นกระดูกที่สามารถเคลื่อนไหวได้ และยังเป็นกระดูกที่ไม่ปิดซึ่งเราถือว่าเป็นกระดูกอ่อน (Cartilaginous Pads) กระดูกทั้ง 24 ชิ้นนี้เป็น กระดูกอ่อน (Cartilaginous Pads) โดยกระดูกอ่อนส่วนนี้ จะมีความหนาซึ่งเรียกความหนาของกระดูกอ่อนทั้ง 24ชิ้น ว่า หมอนรองกระดูก (Disk) โดยความหนานี้จะเป็นตัวกำหนดความสูงของร่างกาย
ดังนั้น หาก Disk ของเรามีความหนาเพิ่มขึ้น ชิ้นละ 0.25 ซม. เราจะมีส่วนสูงเพิ่มขึ้นประมาณ 6 ซม. จาก 0.25*24 = 6 ซม. |
|
|
|
|
|
3. เสริมสร้างการเจริญเติบโตของกระดูกอ่อนส่วนล่าง (Articular Cartilages Growth) กระดูกอ่อนส่วนล่างเป็นกระดูกอีกส่วนหนึ่งที่สามารถที่จะขยายได้ เนื่องจากเป็นกระดูกที่ยังไม่ปิดโดยเฉพาะกระดูกอ่อนบริเวณปลายกระดูกขาท่อนบน (Femer) และปลายกระดูกหน้าแข้ง (Proxinal End of Tibia) ที่ยังสามารถเจริญเติบโต โดยการเพิ่มความหนาให้มากขึ้น ดังนั้นเราจะสามารถสูงขึ้นได้อีก 5 ซม. จากความหนาของกระดูกทั้งสองส่วน |
|
|
|
|
|
4. เทคนิคการออกกำลังกาย เพื่อการยืดตัวของกระดูกสันหลัง และกล้ามเนื้อ (Proper Stretching And Exercise Techniques) โดยการออกกำลังกายแบบ Stretching ที่จะช่วยการบริหารการเคลื่อนไหวของกระดูก ให้กระดูกนั้นขยายออกไป พร้อมกับการขยายตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อการรองรับการเติบโตของกระดูก ช่วยให้กระดูกมีการพัฒนาการ การออกกำลังแบบกระแทกในแนวดิ่ง ช่วยเพิ่มการขยายของ Disk ได้ดี |
|
|
|
|
|
ปัจจัยการเพิ่มความสูงมีปัจจัยดังนี้
|
|
|
|
|
|
1.ปัจจัยพื้นฐานหรือปัจจัยทางกรรมพันธุ์ที่ได้รับมาจากบิดา - มารดา แพทย์แผนจีนเรียกว่าทุนแต่กำเนิด (先天之本) ซึ่งอัตราค่าเฉลี่ยของความสูง
ผู้ชาย =(ความสูงพ่อ+ความสูงแม่)x1.078/2
ผู้หญิง=(ความสูงพ่อ x 0.923 + ความสูงของแม่)/2
2.ปัจจัยที่มาหลังกำเนิดหรือทุนหลังกำเนิด (后天之本) ที่สำคัญคือปัจจัยด้านอาหาร โภชนาการอาหาร ที่เสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง
3.การออกกำลังกาย
4.การนอนหลับพักผ่อน การนอนก่อน4ทุ่ม ร่างกายจะผลิต Growth hormone ที่ช่วยเพิ่มความสูงให้กับเรา Growth hormone จะหลั่งออกมาหลังจากที่เรานอนแล้ว 1 ชม และเวลาที่หลั่งออกมาจะเป็นเวลา 5 ทุ่มถึง ตี 2 จากการวิจัยพบว่า ถ้าหากเรานอนในช่วงเวลานี้จะมีโอกาสทำให้สูง
5.การปิดของกระดูกอ่อน Epiphyseal plate ซึ่งในวัยที่มีการเจริญเติบโต กระดูกแผ่นนี้ก็จะยังเปิดและทำให้สูงขึ้นเรื่อยๆ การปิดของแผ่นกระดูกชิ้นนี้ก็ปิดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายแต่ละคน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ช่วงอายุประมาณ18-20ปี
ช่วงโอกาสดีของการเพิ่มความสูง ในเพศหญิง คือ ช่วงอายุ ๑๔ ปี ในเพศชายอายุ ๑๖ ปี การยืดความสูงในช่วงหลัง ๒๐ ปี จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง และผลการยืดความสูงจะต้องพิจารณาเป็นรายๆไป ว่าจะสามารถสูงได้มากน้อยเพียงใด แม้ว่ากระดูกยาวจะเริ่มปิดหรือปิดไปแล้ว แต่ความสูงอาจยังสูงขึ้นได้ด้วยการปรับแนวกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระดูกที่ยังไม่ปิด
|
|
|
|
|
|
สาเหตุและอาการทางคลินิกที่มีผลต่อความสูงในทางแผนจีน |
|
|
|
|
|
1.เกิดจากชี่ไตพร่อง
อาการทางคลินิก : กระดูกเส้นเอ็นเปราะบาง การเจริญเติบโตช้า ร่างกายผอม หน้าไม่มีราศี ไม่มีแรง ชอบนอนไม่ชอบเคลื่อนไหว
ลักษณะลิ้น : ลิ้นซีด ฝ้าขาวบาง
ลักษณะชีพจร : ชีพจรลึกเนิบไม่มีแรง
2.เกิดจากชี่และเลือดพร่อง
อาการทางคลินิก : หน้าขาวซีด กระดูกคอเล็กหัวโต ร่างกายผอมแห้ง กินน้อยขี้เกียจพูด ขี้หงุดหงิด นอนหลับน้อย เวลาหลับตาปิดไม่มิด
ลักษณะลิ้น : ตัวลิ้นซีดขาว ฝ้าขาวบาง
ลักษณะชีพจร : ชีพจรเล็กพร่องไม่มีแรง
3.เกิดจากม้ามพร่องความชื้นอุดกั้น
อาการทางคลินิก : ร่างกายเตี้ยอ้วน ใบหน้าค่อนไปทางเหลืองนิดๆ ชอบนอน เวียนหัว คลื่นไส้ ถ่ายเหลว ตัวลิ้นอ้วน มีรอยฟันด้านข้าง
ลักษณะลิ้น : ตัวลิ้นซีด ฝ้าหนาลื่น
ลักษณะชีพจร : ชีพจรลื่น
4.เกิดจากหยินพร่องไฟเกิน
อาการทางคลินิก :ใบหน้าแดง ร่างกายผอมแห้ง หิวบ่อย ฝ่ามือฝ่าเท้าร้อน นอนน้อยมีเหงื่อออกตอนหลับ อุจจาระแข็งแห้ง
ลักษณะลิ้น : ลิ้นผอม แดงแห้ง ฝ้าน้อย
ลักษณะชีพจร : ชีพจรเล็กเร็ว
5.เกิดจากตับไตพร่อง
อาการทางคลินิก :วัยทองก่อนวัย ผมขาวหงอกวัย คอคด เอวหลังโก่ง ขาโก่งงอ ข้อต่อเริ่มแข็ง การเคลื่อนไหวช้าลง ปวดเมื่อยเอว ร่างกายจะหดลงไป
ลักษณะลิ้น : ลิ้นชมพูอ่อน ฝ้าน้อย
ลักษณะชีพจร : ชีพจรเล็กไม่มีแรง
|
|
|
|
|
|
หลักการฝังเข็มรักษาเพื่อกระตุ้นความสูง |
|
|
|
|
|
สยามแพทย์ทางเลือกคลินิกจะมีวีธีการเพิ่มความสูงดังนี้
1.ปรับสมดุลระบบไต ทำให้ร่างกายสามารถเก็บกักสารที่จำเป็นของการสร้างสารไขกระดูก
2.ปรับสมดุลระบบม้าม และกระเพาะอาหาร เพื่อช่วยให้การดูดซึมอาหารต่างๆ ในการเสริมสร้างกระดูก และการสร้างฮอร์โมน
3.ปรับระบบตับ เพื่อลดความเครียด เสริมระบบย่อยอาหาร ทำให้มีการไหลเวียนของกลไกพลังเป็นปกติ
4.กระตุ้นการไหลเวียนระบบลมปราณ เพื่อกระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมน กระตุ้นข้อต่อต่างๆของร่างกาย : โดยใช้จุดบริเวณข้อต่อ เพื่อให้เลือดลมมาเลี้ยงกระดูกต่างๆ และพัฒนาไปเป็นกระดูก
5.นวดคลายปรับสมดุลกระดูก เพื่อให้กระดูกอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องทำให้การเสริมสร้างกระดูก และการเติบโตของกระดูกเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง |
|
|
|
|
|
|
|
|
ข้อแนะนำ/และข้อปฏิบัติ ในการฝังเข็มเพิ่มความสูง |
|
|
1.ดื่มนมในปริมาณที่แพทย์ระบุ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และแคลเซียมเพียงพอที่ร่างกายจะสามารถเสริมสร้างการเจริญเติบโตกระดูกได้
2.การบริหารร่างกายตามแพทย์ระบุ เช่นการยืด โหนบาร์ การกระโดด จะช่วยให้กระดูกยืดได้ดีขึ้น
3.นอนหลับเพียงพอ ไม่ดึกเกินไป ก็จะช่วยให้ฮอร์โมนที่สร้างทำงานได้ดีขึ้น หากนอนดึกเกิน 23.00 น. จะทำให้การหลั่งของฮอร์โมนลดลงจึงทำให้การยืดตัวไม่ได้ผลเท่าที่ควร |
|
|
|
|
|
|
|