|
|

|
|
จากอดีตกาล การบันทึกเก็บเกี่ยวข้อมูลการรักษาโรค และการใช้สมุนไพรในประเทศจีนมีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน นับตั้งแต่ยุคโบราณ (กว่า 3000 ปีก่อนค.ศ.) มีการบันทึกการประดิษฐ์เข็มจากหิน 9 เล่มที่มีลักษณะต่างๆ กันในการรักษาโรค |
|
|
|
|
|
|
根据《黄帝内经》记载复原。九针为镵针、员针、鍉针、锋针、铍针、员利针、毫针、长针、大针。“九针”经数千年使用演变,其中有好几种针已不为临床所用,现代常用之针具,系古代毫针发展而成。 |
|
|
|
|
|
ยุคสามก๊ก (ประมาณ 400 ปีก่อนค.ศ.) เริ่มมีการพบตำราแพทย์จีนแบบผืนผ้าไหมทั้ง 10 เล่ม ซึ่งได้มีการกล่าวถึง ตำรับยาสมุนไพร และโรคทางอายุรกรรม 52 โรค รวมไปถึงโรคทางสูติ-นารี การคลำชีพจร การรมยา เป็นต้น
หมอฮัวโต๋ (华佗) เป็นแพทย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศัลยแพทย์ผู้บุกเบิก รมยา มีความชำนาญเรื่องฝังเข็มและมีชีวิตอยู่ในยุคสามก๊ก เป็นคนที่ไม่สนใจยศตำแหน่ง มุ่งรักษาคนธรรมดาสามัญ เคยรักษาท่านกวนอูที่ถูกธนูยิงที่แขน
ยุคราชวงศ์ถัง (ประมาณ ค.ศ.500) ได้มีการเรียบเรียง ตำรับยาปรับปรุงใหม่ทั้ง 54 เล่ม ตำรายาพันเหรียญทอง กล่าวถึงตัวยามากกว่า 6000 ชนิด การเสริมสร้างสุขภาพ โภชนาการ เป็นต้น |
|
 |
|
|
|
นอกเหนือจาก ยังมีตำราแพทย์จีนที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์อีกหลายๆ เล่ม ซึ่งการแพทย์จีนในปัจจุบันได้กลั่นกรองศึกษาเรียบเรียงออกมาเป็นทฤษฎีแพทย์จีนในปัจจุบันรวมไปถึง ตำราสมุนไพรจีน ตำรับยาสมุนไพรจีน อายุรกรรมแพทย์จีน คำภีร์เสินหนงเปิ่นเฉ่าจิง(神农本草经) เป็นตำราเภสัชวิทยาดั้งเดิมของเสินหนง มีอายุราว 1780 ปี ประกอบด้วยตำรา 3 เล่ม กล่าวคือ ตัวยา 365 ชนิด ได้แก่ พืช 252 ชนิด สัตว์ 67 ชนิด และแร่ธาตุ 46 ชนิด |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
» การตรวจรักษาโรคโดยแพทย์จีน |
|
|
การตรวจวินิจฉัยและการแยกสภาพร่างกาย |
|
|
การดูแลรักษาสุขภาพโดยการแพทย์จีน จำเป็นต้องมีการแยกสภาพร่างกายของผู้ป่วยในแต่ละราย ซึ่งการชักถามประวัติผู้ป่วย การวิเคราะห์สรีระ สีหน้า (เสิน 神) อุปนิสัยท่าทาง การคลำชีพจร ดูลิ้น-ฝ้า การฟัง และอื่นๆ ล้วนแล้วแต่มีส่วนสำคัญในการประเมินสภาพร่างกาย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แนวทางการประเมิน แยกสภาพร่างกายของผู้ป่วย หลักเบื้องต้น จำเป็นต้องรู้สภาพร่างกายผู้ป่วยว่า แกร่งหรือพร่อง (虚实) ร้อนหรือเย็นขนาดไหน (寒热) ซึ่งหลักการทั้งหมดอยู่ในทฤษฎีการวินิจฉัยทั้ง 8 (八钢辩证) |
|
|
ของแพทย์จีน ผู้ทำการตรวจวินิจฉัย จำเป็นต้องผ่านการฝึกฝนโดยมี อาจารย์แพทย์จีนที่มีความชำนาญ คอยชี้แนะฝึกสอน นอกจากนี้ตัวแพทย์จีนเองยังจำเป็นจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการทำงานของระบบอวัยวะตันทั้ง5 อวัยวะกลวงทั้ง6 (五脏六腑) การไหลเวียนของพลังงานในรูปแบบต่างๆ (气) เลือด(血) สารน้ำ ของเหลวที่หมุนเวียนอยู่ทั้งในส่วนลึกของเซลล์ในร่างกายและภายนอก (津液) ระบบเส้นลมปราณ (经络) เป็นต้น
นอกเหนือจากความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การแพทย์จีนแล้วนั้น แพทย์จีนในปัจจุบันยังจำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ทั้งทางด้านอินทรีย์เคมี จุลชีววิทยา กายวิภาค สรีระวิทยา พยาธิวิทยา อายุรกรรมพื้นฐาน เป็นต้น |
|
 |
|
|
|
|
|
|
สิ่งที่พิเศษและเป็นจุดเด่นของแพทย์จีน คือ วิธีการรักษา และการแยกแยะสภาพร่างกาย หากพูดถึงวิธีการรักษาของแพทย์ที่มีชื่อเสียงในอดีตกาล การวิเคราะห์ การรักษาหาใช่เพียงรักษาตามอาการของโรคที่แสดงออก หากแต่เป็นการพิจารณาลึกลงไปถึงสาเหตุและปัจจัยแท้จริงทำให้เกิดโรค หากจะลองยกตัวอย่างของอาการ เช่น |
|
|
|
|
|
อาการกรดไหลย้อน โดยทั่วไปในทางคลินิกก็มักจะกล่าวถึง การทานอาหารไม่ตรงเวลา ภาวะเครียด หรือการทานอาหารในปริมาณที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น |
|
|
|
|
|
 |
|
โดยหากจะกล่าวลึกลงไปถึงสาเหตุของอาการ คือ ภาวะหย่อนสมรรถภาพของหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหาร (lower esophageal sphincter) ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพของหูรูดดังกล่าวมีมากมาย ทั้งสภาพทางฟิสิกส์ของร่างกายในเวลานั้น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน บุหรี่ ไขมัน โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น ส่วนหากจะกล่าวถึงสาเหตุแน่ชัดของการเสื่อมของหูรูดดังกล่าว ในทางการแพทย์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด |
|
|
|
|
|
|
ในการวินิจฉัยในทางการแพทย์จีน นอกเหนือจากการวิเคราะห์เบื้องต้นว่า คนไข้มีอาการของโรคแล้ว ทำไมแพทย์จีนถึงมีการซักถามประวัติของคนไข้นั้นๆ เพื่อแยกแยะสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว เช่น |
|
|
|
|
|
การทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือ ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลต่อการทำงานของระบบม้ามในทางแพทย์จีน และในตัวของระบบม้าม ซึ่งก็จะสามารถเกิดภาวะพร่องหรืออ่อนแอ และไม่สามารถควบคุมการหลั่งกรให้เหมาะสมกับอาหารที่รับเข้ามา การรักษาจึงจำเป็นที่จะต้องให้ยาที่สามารถปรับสมดุลระบบม้าม ร่วมกับยาที่สามารถบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ ประกอบกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไข้เอง เพื่อเป็นการรักษาโรคให้หายขาดได้ |
|
 |
|
|
|
|
|
|
จะเห็นได้ว่า การรักษาโดยแพทย์จีนนั้นมิใช่เป็นเพียงการให้ยาสมุนไพรที่มีผลบรรเทาอาการเท่านั้น หากแต่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการเสริมสร้าง ปรับสมดุลระบบม้านและกระเพาะอาหาร (健脾和胃) เพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรง มากกว่าที่จะบรรเทาอาการกรดไหลย้อนเป็นครั้งคราว |
|
|
|
|
|
สาเหตุของอาการกรดไหลย้อนมีมากมาย หากจะกล่าวให้เห็นภาพรวมโดยแพทย์จีน อาจจะกล่าวได้ว่า
|
|
|
• ความเครียด ทำไมจึงกล่าวว่าความเครียดนั้น ส่งผลให้มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น จนทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ โดยในทางแพทย์จีน ความเครียดมีผลโดยตรงต่อระบบตับ ก่อให้เกิดภาวะตีบตันในการไหลเวียนของระบบตับ ซึ่งระบบตับมีหน้าที่ในหลายๆ อย่าง ทั้งการ
• กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
• สร้างน้ำดี ซึ่งช่วยย่อยและดูดซึมอาการประเภทไขมัน
• สร้าง enzyme ต่างๆ ในการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ เพื่อให้ได้เป็นพลังงาน เป็นต้น |
|