|
การฝังเข็มเป็นศาสตร์แพทย์จีนแขนงหนึ่ง เป็นการรักษาโรคที่มีวิวัฒนาการมายาวนาน จากหลักฐานที่มีบันทึกไว้กว่า 5,000 ปี ในคัมภีร์ “ห่วงตี้เน่ยจิง ภาคหลิงซู” (คัมภีร์โบราณด้านการแพทย์แผนจีน รวบรวมหลักในการรรักษา ทฤษฎีแพทย์จีน การตรวจวินิจฉัย ยาจีน การฝังเข้ม เป็นต้น) ในยุคโบราณ ใช้เข็มหิน เข็มกระดูกสัตว์ เข็มโลหะ เข็มเงิน เข็มทอง แต่ในปัจจุบัน ใช้เข็มสแตนเลส (เข็มปลอดเชื้อแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง)
การฝังเข็มรักษาโรค
การฝังเข็มคือการแทงเข็มขนาดเล็ก ขนาดเท่าเส้นผมลงบนผิวหนังตามจุดฝังเข็มในระบบเส้นลมปราณต่าง ๆ ในร่างกายประมาณ 30 นาที เพื่อทำการบำบัดโรค หลักของการฝังเข็มคือหลักของการเสริมบำรุง การระบาย การอุ่น การขับ การทำให้พลังหมุนเวียนขึ้นและลง ตามระบบเส้นลมปราณ โดยการฝังเข็มมีการทำงานดังนี้
- การปรับสมดุลย์ร่างกาย ร้อน เย็น หยิน หยาง
- แก้อาการเจ็บ ปวด เมื่อย ตึง ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย
- เสริมสร้างภูมิต้านทาน สารคัดหลั่ง พลังชี่ เลือด
- กระตุ้นการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
- บำรุงร่างกายในส่วนที่ขาด ระบายส่วนที่เกิน
- ปรับการหมุนเวียนของชี่ ( พลัง, สารคัดหลั่ง, เลือด, ของเหลว, สารสื่อประสาท ) ในร่างกาย
- บำบัดรักษาอาการปลายเหตุ และต้นเหตุของโรค ฟื้นฟูอวัยวะที่บกพร่อง
องค์การอนามัยโลกให้การรับรองโรคที่ใช้ในการฝังเข็ม หลายกลุ่ม มากกว่า 50 รายการ อาทิเช่น
- ไมเกรน
- ความดันโลหิตสูง และต่ำ
- เบาหวาน
- โรคซึมเศร้า ขี้ลืม นอนไม่หลับ
- โรคภูมิแพ้
- ไซนัส หอบ หืด
- โรคหัวใจ
- โรคเกี่ยวกับตับ ไต เช่น ค่าตับสูง ค่าไตสูง ไขมันพอกตับ
- ด้านความงาม เช่น สิว ฝ้า กระ ผมร่วง
- โรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- โรคเกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธ์เพศชาย เช่น ต่อมลูกหมากโต เสื่อมสมรรถภาพ
- โรคเกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธ์เพศหญิง เช่น ปวดประจำเดือน มีบุตรยาก
เป็นต้น
|
|