|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อาการกรดไหลย้อน
|
อาการกรดไหลย้อน จัดเป็นอาการที่คนในยุคปัจจุบันเป็นกันมากขึ้น เนื่องจากยุคปัจจุบันนี้มนุษย์เราใช้ชีวิตในภาวะเร่งด่วน การทานอาหารก็ต้องรีบเร่ง อีกทั้งปัจจัยความเครียดในชีวิตประจำวัน การทานอาหารยามดึก การนอนดึก และอื่น ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมส่งผลให้ระบบการย่อยอาหาร และกระเพาะอาหารเกิดความผิดปกติ จนเป็นผลให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้
กลไกการเกิดโรคกรดไหลย้อน คือการที่น้ำย่อยที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นออกมาทางลำคอ โดยปกติกระเพาะอาหารจะมีหูรูดเปิดปิด ซึ่งหูรูดนี้โดยปกติจะให้อาหาร น้ำและอื่น ๆ ที่มาจากทางลำคอ หลอดอาหารผ่านหูรูดเข้าสู่กระเพาะอาหารได้ แต่ไม่ยอมให้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาทางลำคอได้ แต่บุคคลที่เป็นกรดไหลย้อนหูรูดดังกล่าวจะเกิดผิดความปกติ ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่ อยู่ในกระเพาะอาหารโดยเฉพาะน้ำย่อยที่มีสภาวะเป็นกรดไหลย้อนออกมาทางลำคอ ทำให้เกิดอาการจุกเสียด แสบร้อน บริเวณหน้าอกและลำคอ
|
|
|
จากภาพจะเห็นได้ว่ากระเพาะอาหารปกติหูรูดจะปิดทำให้น้ำย่อยไม่สามารถไหลย้อนออกไปทางหลอดอาหารได้ ส่วนคนที่เป็นกรดไหลย้อนหูรูดดังกล่าวจะไม่สามารถปิดได้สนิทจึงทำให้น้ำย่อยสามารถไหลย้อนขึ้นออกไปทางหลอดอาหารได้
|
|
|
สาเหตุของอาการกรดไหลย้อน
สาเหตุของอาการกรดไหลย้อนนอกจากเกิดจากหูรูดกระเพาะอาหารผิดปกติแล้วยังเกิดมาจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้
1.การทานอาหารแล้วนอน การทานอาหารแล้วนอนจะทำให้อาหารยังไม่ทันย่อย และยังไม่ทันได้เคลื่อนผ่านกระเพาะอาหาร ดังนั้นเมื่อนอนขณะอาหารยังไม่ย่อยอาจทำให้อาหารที่ทานผลักดันหูรูดจนทำให้อาหารไหลออกมาทางหูรูดนี้โดยผลักจนอาหารออกมาจากข้างในบ่อยเข้าจะทำให้หูรูดนี้ผิดปกติได้
2.การสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารนิโคตินปริมาณมาก ซึ่งสารนิโคตินจะทำให้เกิดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น และทำให้หูรูดกระเพาะอาหารอ่อนแอลง หากเป็นต่อเนื่องระยะยาวจะทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้
3.การดื่มสุรา ในสุรามีแอลกอฮอล์จำนวนมาก แอลกอฮอล์จะทำให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น และทำให้หูรูดผิดปกติได้ง่ายขึ้น จนเป็นผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้
4.การทานอาหาร มัน ทอด หรือมีรสจัด ซึ่งอาหารดังกล่าวนอกจากทำให้กรดในกระเพาะอาหารเกิดขึ้นมากกว่าปกติ และอาหารดังกล่าวจัดเป็นอาหารย่อยยาก ในระยะยาวจึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ |
|
|
สาเหตุของอาการกรดไหลย้อนในทรรศนะแพทย์แผนจีน
อาการกรดไหลย้อนในทรรศนะแพทย์แผนจีนเกิดจากการที่ชี่ หรือพลังงานของกระเพาะอาหารเสียสมดุล โดยปกติแล้วทิศทางการไหลเวียนพลังชี่ของอวัยวะภายในร่างกายมีทั้ง
ขึ้น-ลงและเข้า-ออกจะต้องสมดุลกัน ร่างกายจึงทำงานได้ปกติ เช่น
ม้ามและกระเพาะอาหารต่างเป็นอวัยวะสำคัญในระบบย่อยอาหาร
แต่ทิศทางการไหลเวียนของพลังชี่กลับตรงข้ามกัน
กล่าวคือ
พลังชี่ของม้ามจะต้องไหลเวียนขึ้นสู่ด้านบนเพื่อลำเลียงสารอาหารที่ย่อยแล้ว
ขึ้นไปที่ปอดและหัวใจ
ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีตำแหน่งอยู่เหนือกว่าม้ามเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย ส่วนพลังชี่ของกระเพาะอาหารจะต้องไหลเวียนลงสู่ด้านล่าง
ส่วนพลังชี่ของกระเพาะอาหารจะต้องไหลเวียน
ลงสู่ด้านล่าง
ช่วยผลักดันอาหารจากกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้เล็กเพื่อย่อยและดูดซึมต่อ
และขับกากอาหารลงสู่ลำไส้ใหญ่เพื่อขับถ่ายออกจากร่างกายกระเพาะอาหารจะได้มี
ที่ว่างรองรับอาหารใหม่
ฉะนั้นหากพลังชี่ของกระเพาะอาหารไหลเวียนลง
สู่ด้านล่างไม่ดีเท่าที่ควร ก็จะทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง
ส่งผลให้อาหารคั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป
ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อคล้ายอาหารไม่ย่อย ปวดท้อง
เบื่ออาหารและท้องผูก
หากปล่อยไว้เรื้อรังพลังชี่ของกระเพาะอาหารก็จะไหลเวียนย้อนขึ้นสู่ด้านบน
ทำให้การบีบตัวของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารผิดปกติพร้อมทั้งเพิ่มแรงดันใน
กระเพาะอาหาร
ส่งผลให้หูรูดหลอดอาหารหย่อนตัวและเปิดออกบ่อยขึ้นจนเกิดภาวะกรดไหลย้อน
|
|
|
อาการโรคกรดไหลย้อน
- มีอาการแสบในลำคอ เหมือนเป็นก้อนในลำคอ
- แสบในคอ เจ็บคอ โดยมากมักจะเป็นในช่วงเช้า
- เรอบ่อย มีอาการคลื่นไส้ รู้สึกคล้ายมีอะไรออกมาจากกระเพาะอาหารออกมาทางคอ
- อาการเจ็บหน้าอก จุกแสบบริเวณหน้าอก
- มีอาการขมปาก ในปากจะมีรสขมของน้ำดี ในบางรายมีอาการเหมือนมีรสเปรี้ยวในปาก
|
|
|
การตรวจวินิจฉัยอาการกรดไหลย้อนในทางแพทย์แผนจีน
1.เกิดจากไฟตับลุกโชน
อาการ มีภาวะกรดไหลย้อน อาเจียนเป็นน้ำกรดในกระเพาะอาหาร มีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่
อาการร่วม กระวนกระวาย ปากแห้ง ขมในปาก มีกลิ่นปาก
ลิ้นและชีพจร ปลายลิ้นแดง มีฝ้าเหลือง-บาง ชีพจรตึง หรือเร็ว (XianMai or ShuMai)
2.เกิดจากเย็นพร่องของม้าม และกระเพาะอาหาร
อาการ มีภาวะกรดไหลย้อน อาเจียนเป็นน้ำกรดในกระเพาะอาหาร รู้สึกอืดแน่นบริเวณลิ้นปี่ อาจมีอาการเรอ อาเจียน
ลิ้นและชีพจร ลิ้นซีด มีฝ้าขาว ชีพจรตึงเล็ก ( Xian-XiMai )
3.เกิดจากความร้อนชื้นอุดกั้น
อาการ มีอาการแสบร้อน แน่นหน้าอก เรอเปรี้ยว มีกลิ่นปาก
ลิ้นและชีพจร ลิ้นมีลักษณะเหนียว
4.เกิดจากชี่ และเลือดไหลเวียนติดขัด
อาการ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น เหนื่อยง่าย
ลิ้นและชีพจร ลิ้นมีสีม่วงคล้ำ
|
|
|
การบำบัดรักษาอาการกรดไหลย้อนทางแพทย์แผนจีน
1.การทานยาสมุนไพรจีนที่ผ่านกระบวนการผลิตปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง ตามแต่ละกลุ่มอาการและสาเหตุ เช่น
- อาการกรดไหลย้อนที่เกิดจากไฟตับลุกโชน ให้ยาที่มีสรรพคุณ ดับร้อนไฟตับ ลดร้อน
- อาการกรดไหลย้อนที่เกิดจากการเย็นพร่องของม้าม และกระเพาะอาหาร ให้ยาที่มีสรรพคุณ อบอุ่นม้าม บำรุงม้าม ช่วยย่อยอาหาร
2.การฝังเข็มตามแต่ละกลุ่มอาการ เพื่อปรับสมดุลร่างกายตามกลุ่มอาการ
- อาการกรดไหลย้อนที่เกิดจากความร้อนชื้นอุดกั้น ทำการฝังเข็มที่มีสรรพคุณ ดับร้อน ขับชื้น
- อาการกรดไหลย้อนที่เกิดจากชี่ และเลือดไหลเวียนติดขัด ทำการฝังเข็มที่มีสรรพคุณ เพิ่มการหมุนเวียนของชี่ และการไหลเวียนของเลือด
|
|
|
สมุนไพรบรรเทาอาการกรดไหลย้อน
1.กระเจี๊ยบเขียว เนื่องจากใย และเมือกที่อยู่ในกระเจี๊ยบเขียวช่วยยับยั้งแผล และอาการอักเสบในกระเพาะอาหาร อีกทั้งยังช่วยยับยั้งแบคทีเรียในกระเพาะอาหารอีกด้วย จึงทำให้การอักเสบในกระเพาะอาหารลดลง วิธีใช้นำกระเจี๊ยบเขียวลวกน้ำร้อนทานพร้อมกับอาหาร
2.กะเพรา สารที่อยู่ในใบกะเพรามีสรรพคุณช่วยขับลมลดกรดลดแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสรรพคุณที่ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อน ช่วยทำให้สบายท้อง วิธีการใช้คือนำใบสดมาต้มน้ำชงเป็นชา หากป็นกะเพราะแดงจะได้ผลดีกว่ากะเพราชนิดอื่น
3.ขมิ้นชัน ขมิ้นชันช่วยลดอาการท้องอืด ขับลม ช่วยย่อยอาหาร จึงทำให้กรดที่อยู่ในกระเพาะอาหารลดลง อีกทั้งทำให้อาหารไม่ตกค้างในกระเพาะอาหารซึ่งจะทำให้อาการกรดไหลย้อนบรรเทาลง วิธีใช้ ใช้ผสมในอาหาร เช่น แกงส้ม ต้มขมิ้น
|
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.ทานอาหารตรงตามเวลา ไม่ทานอิ่มเกิน หรือทานอาหารดึกเกินไปแล้วรีบนอน หลังรับประทานอาหารมื้อดึกควรเดินเพื่อย่อย 10-15 นาที ก่อนนอน
2.สร้างอารมณ์ให้เบิกบาน แจ่มใส ไม่เครียด
3.งดอาหารทอด, มัน, เผ็ด เป็นต้น
4.งดบุหรี่, แอลกอฮอล์, กาแฟและน้ำอัดลม
5.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
6.จิบน้ำอุ่นเรื่อย ๆ วันละ 2 - 3 ลิตร |
|
|
อาการกรดไหลย้อนจัดเป็นโรคที่สร้างความลำบาก และทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาการกรดไหลย้อนจะสร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยเมื่อยามโรคกำเริบ อีกทั้งยังทำให้เป็นอุปสรรคในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะต้องคอยระมัดระวังอาการของโรค ยิ่งถ้าอาการของโรคเกิดกำเริบจะทำให้ร่างกายเจ็บปวดจนทำงานไม่ได้
อาการกรดไหลย้อนหากปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง อาจทำให้เกิดอาการปวดท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือเกิดแผลในหลอดอาหารได้
|
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ |
|
|
|